ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

THE RESULTS OF LEARNING MANAGEMENT BY USING KWDL TECHNIQUE TO MATHEMATIC ACHIEVEMENTS FOR GRADE 3 STUDENTS

  • ไพรินทร์ นันตะชัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ละดา ดอนหงษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  หลังเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL กับเกณฑ์ ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL  กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนประชาสงเคราะห์ 4 อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน  25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.33 – 0.50 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 – 0.67 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์   โดยใช้เทคนิค KWDL อยู่ในระดับมาก


The objectives of this research were to 1) compare mathematics achievement of grade 3 students after learning using the KWDL technique with the criteria of 75 percent 2) compare mathematics learning achievement of Grade 3 students between before and after learning using the KWDL technique 3) study the satisfaction of Grade 3 students toward mathematics learning using the KWDL technique. The Sample consisted of 25 students in the first semester of the academic year 2023 at Chom Chon Prachasongkror 4 School, Nong Khai Province, by cluster random sampling. The research instruments were 1) lesson plans 2) the mathematics achievement tests had difficulty values between 0.33 – 0.50, discrimination values between 0.27 – 0.67 and reliability value was 0.83 3) the satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis comprised; mean, standard deviation, percentage, and t-test for dependent samples.


The results of this research found that; 1) The mathematic achievement of Grade 3 students after learning using the KWDL technique was significantly higher than 75% at the .05 levels. 2) The mathematic achievement of grade 3 students after learning was significantly higher than before at the .05 levels. 3) The satisfaction of grade 3 students towards on the mathematics learning by using the KWDL technique at the high level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชญาณิศา เป็งจันทร์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย. 8(1). 7-20.

ชลันดา ปาระมี (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWDL กับการเรียนรู้ตามปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

น้ำทิพย์ ชังเกตุ. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิรันดร์ แสงกุหลาบ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยมและร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWDL และตามแนว สสวท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ปรียาณ์ภัสนากร สุ่มมาตย์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัทรา สุวรรณบัตร. (2552). วิธีการเรียนรู้สู่ความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์. วารสารวิชาการ. 12(2). 66.

โรงเรียนชุมชนประชาสงเคราะห์ 4. (2566). รายงานการจัดการศึกษาปีการศึกษา 2565. หนองคาย : โรงเรียนชุมชนประชาสงเคราะห์ 4.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุพัตรา ไพรลิน (2563). การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Shaw, J.M., et al. (1997). Cooperative Problem Solving: Using K-W-D-L as an Organizational Technique. Retrieved 17 July 2023. From https:// eric.ed.gov/?id=EJ545198
Published
2023-11-06
How to Cite
นันตะชัย, ไพรินทร์; ดอนหงษา, ละดา. ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 80-91, nov. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2586>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย