การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIVEMENT AND CRITICAL THINKING SKILLS ON HISTORY SUJECT OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS WITH PROBLEM-BASED LEARNING MANAGEMENT

  • พระมหาอาทิตย์ ศรีหล้า คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ละดา ดอนหงษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิศาลรัญญาวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.23 – 0.50 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.26 - 0.67 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.50 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 - 0.67 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


The objectives of this research were to: 1) compare learning achievement on history subject of mathayomsuksa 3 students between before and after with problem-based learning management. 2) compare critical thinking skills of Mathayomsuksa 3 students between before and after with problem-based learning management. The sample consisted of 26 Mathayomsuksa 3 students in the first semester of the academic year 2023 at Pisan Ranyawat School, Nong Bua Lamphu Province, by cluster random sampling. The research instruments were 1) lesson plans 2) the learning achievement tests in history subject had difficulty values between 0.23 - 0.50, discrimination values between 0.26 – 0.67 and reliability value was 0.83 3) the critical thinking skills test had difficulty values between 0.20 - 0.50, discrimination values between 0.27 – 0.67 and reliability value was 0.80. The statistics for data analysis comprised; mean, standard deviation and t-test for dependent samples


The results of this research found that; 1. The learning achievement in history subject of mathayomsuksa 3 students after learning was significantly higher than before with problem-based learning at the .05 levels 2. The critical thinking skills of Mathayomsuksa 3 students after learning was significantly higher than before with problem-based learning at the .05 levels.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกษมสันต์ พุ่มกล่ำ (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ณฐกรณ์ คำชะอม. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี.(2556). ศาสตร์การสอน องค์วามรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียบรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทุติยาภรณ์ ภูมิดอนมิ่ง. (2551). ความรู้ความเข้าใจในวิธีการทางประวัติศาสตร์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 3 ถึง 4) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 3(1). 45-52.

ธัชพล แคล้วคลาด. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ปิยะราช วรสวัสดิ์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู”. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2551). การพัฒนาทักษะการคิด...พิชิตการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดารัตน์ สันจรรัตน์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(10). 160-175.
Published
2023-11-06
How to Cite
ศรีหล้า, พระมหาอาทิตย์; ดอนหงษา, ละดา. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 70-79, nov. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2585>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย