ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE DIGITAL AGE OF BUACHET EDUCATIONAL NETWORK GROUP 2 UNDER SURIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • รัตติกาล โยธาภักดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลกลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test Independent) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) และวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) รองลงมาคือ ด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านจริยธรรม (Ethics) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสมรรถนะ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ผู้บริหารควรมีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารควรมีการแสดงออกถึงความมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้นำให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงานทุกคน ควรกำหนดนโยบาย เพื่อสร้างความตระหนักถึงประเด็นทางสังคมจริยธรรมและกฎหมายในยุคดิจิทัล


The objectives of this research were 1) to study academic leadership of school administrators in the digital Era of Buachet 2 Education Network Group under Surin Primary Educational Service Area Office 3 2) to compare academic leadership of school administrators in the digital Era classified by position, educational level and work experience, and 3) to collect recommendations as suggested by those persons. The target group were the administrators and teachers, 137 in number. The instrument for collecting the data was the questionnaireThe data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested with t-test, F-test, and content analysis.


The research results were as follows: 1) Academic leadership of school administrators in the Digital Era of Buachet 2 Education Network Group under the Surin Primary Educational Service Area Office 3 overall were at a high level. The highest to lowest average was spirituality, followed by service mind, ethics, and vision. The lowest average was performance. 2) The comparison of opinion levels towards academic leadership of school administrators in the Digital Era classified by position, educational background, and work experience were not different. 3) Recommendations for the academic leadership of school administrators in the Digital Era of Buachet2 Education Network Group under Surin Primary Educational Service Area Office 3 found that administrators should provide various materials and equipment related to effective digital technology used in the development of school, incentivize personnel to carry out their vision in the digital age as well, administrators should show a spirit of leadership, love, and care for all colleagues. Policies should be formulated to raise awareness of social, ethical and legal issues in the Digital Era.

References

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2559). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา (Professional Education Administration: Basic Qualifications, Skills, and Vision). วารสารมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 5(2). 247-254.

ชมิดท์ อีริค และโคเฮน เจเรด. (2014). ดิจิทัลเปลี่ยนโลก แปลจาก The New Digital Age โดย สุทธวิชญ์แสงศาสดา. กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊กส์.

ถาวร เส้งเอียด. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัด ชายแดนภาคใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทินกร บัวชู และ ทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 13(2). 285-294.

ปิยะนุช สุขประเสริฐ และจิราภรณ์ ผันสว่าง. (2566). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 3(1). 36-47.

วรวิทย์ บุญญาธิพิทักษ, จิราภรณ์ ผันสว่าง, พระครูชัยรัตนากร. (2565). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 477-491.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตนแนวคิดและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คลังนานาวิทยา.

สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2563). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครู ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 33(9). 256-262.

สุเมธ งามกนก. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 3(1). 59-67.

อดุลย์วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(1). 1-17.

Hopkins, L.D. (2001). Urban Development the Logic of Making Plans. Washington, D.C. : Island Press.

Howley, C. B. (1989). Career education for able students. Journal for the Education of the Gifted. 12(3). 205–217.
Published
2023-10-18
How to Cite
โยธาภักดี, รัตติกาล; ผันสว่าง, จิราภรณ์. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายการศึกษาบัวเชด 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 31-42, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2582>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย