การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนชาวไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี

SCHOOL ADMINISTRATIONS BASED ON THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY OF NON-FORMAL AND INFORMAL IN EDUCATION CENTER UDON THANI SUGAR CANE FARMERS ZONE

  • กัณฐ์ธภิญค์ษา ผดุงไสย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนชาวไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนชาวไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษารวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนชาวไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ  ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนชาวไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหารควรมีการกระจายอำนาจการทำงานด้านการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของ สำนักงาน กศน. ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง และครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ และควรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ


The objectives of this research are 1) to study school administration based on the Philosophy of Sufficiency Economy of Non-Formal and Informal Education Center Udon Thani Province Sugar Cane Farmers Zone, 2) to compare the school administration based on the Philosophy of Sufficiency Economy of Non-Formal and Informal Education Center Udon Thani Province Sugar Cane Farmers Zone classified by position, education level, and experience; and 3) to study suggestions for the School Aadministration Based on the Philosophy of Sufficiency Economy of Non-Formal and Informal Education Center Udon Thani Province Sugar Cane Farmers Zone. with a sample group consisting of 133 individuals, school administrators and teachers. The research tool used was a questionnaire. The statistical analysis used in this study included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-Way ANOVA).  


The results show that: 1) The School administration Based on the Philosophy of Sufficiency Economy of Non-Formal and Informal Education Center Udon Thani Province Sugar Cane Farmers Zone overall level The areas with the highest average to the lowest are: educational institution management, followed by activities for student quality development Personnel development of educational institutes The aspect with the lowest average was curriculum and instructional management. 2) The result of comparing the school administration Based on the Philosophy of Sufficiency Economy of Non-Formal and Informal Education Center Udon Thani Province Sugar Cane Farmers Zone classified by position and work experience the overall difference was statistically significant at the .05 level, classified by educational background. overall is not different. 3) Suggestions for School administration Based on the Philosophy of Sufficiency Economy of Non-Formal and Informal Education Center Udon Thani Province Sugar Cane Farmers Zone should decentralize their work in driving the Sufficiency Economy Philosophy in accordance with the policy and the focus of the Office of Non-Formal Education. Should have a vision and desirable characteristics of learners according to the philosophy of sufficiency economy Promote activities for students to analyze, think, solve problems, plan and record their own income and expenses and family effectively and should constantly seek knowledge about the philosophy of sufficiency economy.


 

References

กาญจนา วิเชียรศรี (2563). การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชณิดา ทัศนิยม. (2562). ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์. 6(1). 32-41.

ทองดี พิมพ์สาลี. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนายูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียาดา สุขสว่าง. (2558). การบริหารจัดการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พินิจ เครือเหลา, วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 268-282.

ลัญจกร นิลกาญจน์ และคณะ. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน. วารสารวิชาการราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 15(1). 20-26.

ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ศธ. (2553). โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (2550 – 2554). กรุงเทพฯ : สำนักกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สมใจ สิกขวัฒน์ และคณะ. (2557). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารครุพิบูล. 1(1). 1-11.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุริยนต์ หลาบหนองแสง. (2555). การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 8(1). 6-18.
Published
2023-10-18
How to Cite
ผดุงไสย์, กัณฐ์ธภิญค์ษา; เมยไธสง, สุเทพ. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มโซนชาวไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 16-30, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2581>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย