การบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

PROACTIVE ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE DIGITAL ERA FOR REGIONAL SPECIAL EDUCATION CENTER, NETWORK GROUP 9, UNDER THE OFFICE OF SPECIAL EDUCATION ADMINISTRATION

  • ขนิษฐา วรวัตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรทิวา ชนะโยธา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล  กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 175 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา  


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการวัดผล ประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล  กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ  ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า สถานศึกษาควรมีการวางแผนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยเริ่มวางแผนตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยการกำหนดโครงสร้างของหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง มีการประชุมพัฒนาหลักสูตรอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง โดยผู้มีส่วนร่วมในการใช้หลักสูตรร่วมกันประชุมวางแผนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ครูควรพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนการสอน โดยการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมกับนักเรียน และประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความท้าทาย และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีการออกแบบการวัด และประเมินผลที่มีความหลากหลายยืดหยุ่น เหมาะสำหรับนักเรียนแต่ละคน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาในการวัดและประเมินผลและเก็บข้อมูลของนักเรียน


The objectives of this research were 1) to study Proactive Academic Administration in the Digital Era for Regional Special Education Center, Network Group 9, under the Office of Special Education Administration 2) to compare Proactive Academic Administration in the Digital Era for Regional Special Education Center, Network Group 9, under the Office of Special Education Administration, classified by position, educational qualification, and work experience, and 3) to collect recommendations for Proactive Academic Administration in the Digital Era. The sample group consisted of 175 educational institution administrators and teachers. of Regional Special Education Center, Network Group 9, under the Office of Special Education Administration. The research instrument was a scaled questionnaire, estimated at 5 levels, with an IOC between 0.67 – 1.00, with a confidence value for the whole version equal to 0.97. Statistics used included frequency, percentage, mean, and standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, F-test (One-Way ANOVA), and descriptive statistical analysis.


The results showed that: 1.  Proactive Academic Administration in the Digital Era for Regional Special Education Center, Network Group 9, under the Office of Special Education Administration overall, it was at a high level, in order from the highest average to the lowest were educational curriculum development, followed by measurement, evaluation, teaching management, educational supervision. The aspect with the lowest average was development and use of technological media for education. 2.  Comparative results of the Proactive Academic Administration in the Digital Era for Regional Special Education Center, Network Group 9, under the Office of Special Education Administration, classified by position, educational qualification, and work experience, overall and aspects were no difference. 3.  Suggestions for Proactive Academic Administration in the Digital Era for Regional Special Education Center, Network Group 9, under the Office of Special Education Administration It found that educational institutions should plan the academic administration of the educational institutions, starting with planning from the preparation of the educational institution curriculum by determining the structure of the curriculum to be consistent with the core curriculum. There is a curriculum development conference at least once a year by participants in using the curriculum together in a meeting to plan the curriculum development in accordance with the abilities of the students and consistent  with the context of the educational institution, teachers should develop themselves by designing teaching and learning arrangements which were appropriate for students and apply modern technological media to participate in teaching and learning process to create a challenge for students and encourage the learning process with a measurement design and evaluate diverse suitable for each student together with the use of modern technology to measure, evaluate and student data collection.

References

เกตกนก สวยค้าข้าว. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 539–553.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ธปท. จับมือสมาคมธนาคารไทย ออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/

พรรษมน พินทุสมัต (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง). (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development. 6(1). 263-276.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2). 151-166.

ภวนันท์ชัย สวัสดิ์สละ (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มูนา จารง (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทศันะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัย ศิริพิน. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิเชษฐ์ บุญพยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักสูตรและการบริหารวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอสดี.
Published
2023-10-24
How to Cite
วรวัตร, ขนิษฐา; ชนะโยธา, พรทิวา. การบริหารงานวิชาการเชิงรุกในยุคดิจิทัล กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 1-15, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2580>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย