การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก

THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL THINKING ABILITY IN HEALTH EDUCATION OF GRADE 6 STUDENTS THROUGH INQUIRY LEARNING METHOD (7E) WITH GRAPHIC ORGANIZER TECHNIQUE

  • ปฏิภาณ ดุกสุขแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ทัศนีย์ รอดมั่นคง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และ4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent)


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด      


The objectives of this research were: 1) to compare the learning achievement in health education of grade 6 students through inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique; 2) to compare the analytical thinking ability of grade 6 students before and after being undergone with inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique; and 3) to study the satisfaction of grade 6 students toward learning management through inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique. Derived from cluster random sampling, the samples were grade six students, studying in the first semester of academic year 2024 of Suraobankoh School. There were 30 students from the same class. The research instruments consisted of                    1) lesson plan of inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique in health education of grade 6 level, 2) learning achievement test, 3) analytical thinking ability test, and 4) satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were the mean, standard deviation and t-test Dependent.


The research findings were as follows: 1) The learning achievement in health education of grade 6 students after being undergone with inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique was higher. It was statistically significant at the .05 level. 2) The analytical thinking ability of grade 6 students after being undergone with inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique was higher. It was statistically significant at the .05 level. and 3) The overall of satisfaction of grade 6 students after being undergone with inquiry learning method (7E) with graphic organizer technique was at the highest level.

References

กนกพร อุทัยวัฒน์. (2560). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับผังกราฟิก เรื่องระบบนิเวศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(25). 53-62.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ). กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. จาก http://www.pharmacy. cmu.ac.th/graduation/manual.pdf

จิราวรรณ ใจเพิ่ม, ธีระดา ภิญโญ, อินทิรา รอบรู้. (2567). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามวงจรการเรียนรู้แบบ 7E และแบบปกติ. รายการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนันทา. 8(1). 20 มีนาคม 2567. 482-491.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญารัตน์ สุขเกษม. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ เรื่อง วิวัฒนาการที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์สาร. 3(2). 24-36.

นิตยา ม่วงพะเนาว์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โครงสร้างของพืช และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับ ผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ. (2563). หลักสูตรรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ.

วินัย เพ็งภิญโญ และจรินทร อุ่มไกร. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ส่องแสง อาราษฎร์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคเคดับเบิลยูแอล เรื่อง สารในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาเจริญ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(2). 208-230.

สายไหม พรมเก่า. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์และการสร้างตัวแทนทางความคิด เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำเชียว จังหวัดสุรินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มมธ. 10(1). 40-58.

โอภาส ขำมะลัง. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้วรรณกรรมพิจารณ์และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ไอลัดดา ปามุทา. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Published
2024-11-12
How to Cite
ดุกสุขแก้ว, ปฏิภาณ; ธรรมศิริขวัญ, พอเจตน์; รอดมั่นคง, ทัศนีย์. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 320-333, nov. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2578>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย