การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม โดยการจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังตะเคียน

THE DEVELOPMENT OF MATHEMATICS LEARNING ACHIEVEMENT ON QUAD GRADE 5 STUDENTS OF BANWANGTAKHIAN SCHOOL THROUGH PROBLEM-BASED LEARNING AND STAD COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE

  • ขวัญชีวา คำกุดตะเคียน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ทัศนีย์ รอดมั่นคง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านวังตะเคียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยม 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติ t-test for Dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยมโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด


The objectives of this research were: 1) to compare the learning achievement on quad of grade 5 Students of Banwangtakhian School before and after being undergone with problem-based learning and STAD cooperative learning technique, and 2) to study the students’ satisfaction toward learning management through problem-based learning and STAD cooperative learning technique. Derived from cluster random sampling, the samples were grade five students, studying in the second semester of academic year 2022 of Banwangakhian School. The research instruments consisted of 1) mathematics lesson plan on quod, 2) mathematics learning achievement test on quod, and 3) mathematics satisfaction questionnaire on quod. The statistics used for data analysis were the mean, percentage, standard deviation, hypothesis test and t-test for Dependent Samples.


The research findings were as follows: 1) The comparative result of the learning achievement on quad of grade 5 students of Banwangtakhian School after being undergone with problem-based learning and STAD cooperative learning technique was higher. It was statistically significant at the .05 level. and 2) The overall of the grade five students’ satisfaction toward mathematics learning on quad after being undergone with problem-based learning and STAD cooperative learning technique was at the highest level.

References

กนกวรรณ เขียวน้ำชุ่ม. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนบ้านดงน้อย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กมลชนก เซ็นแก้ว. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแสตทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2564). การจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงกล เขียนปัญญา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม. วารสารวิชาการ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(2). 127-136.

เนตรกนก วิทยเจียกขจร. (2561). การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิคสแตกเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจ เรื่องทฤษฎีบทพีทา โกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนครพนม.

ศิวพร โกษาทอง. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Published
2024-11-12
How to Cite
คำกุดตะเคียน, ขวัญชีวา; ธรรมศิริขวัญ, พอเจตน์; รอดมั่นคง, ทัศนีย์. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม โดยการจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังตะเคียน. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 334-344, nov. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2577>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย