ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

SUPER-LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE OF UBON RATCHATHANI AND AMNAT CHAROEN

  • ไอยราวรรณ จวบบุญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • พงษ์ธร สิงห์พันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ไพวุฒิ ลังกา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง  ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านการทำให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเองต้องมีการการขยายความเข้าใจด้านการปฏิบัติงานและการดำเนินงานให้ครอบคลุมตลอดทั้งองค์กร ด้านการแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นที่ยอมรับในองค์กร ด้านการกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเองต้องมีกระตุ้นให้บุคลากรมีความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของตนเองและองค์กร ด้านการสร้างรูปแบบความคิดทางบวก ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์ ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการสร้างภาวะผู้นำตนเองให้บุคลากร ด้านการสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างทีมงาน ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันระดมความคิดจนเกิดกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีม และด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีรูปแบบการทำงานที่มีมาตรฐานและเป็นระบบเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ


The objectives of this research article are: 1) to study the level of super-leadership of school administrators, 2) to compare the super-leadership of school administrators, and 3) to explore approaches to promoting the super-leadership of school administrators. The sample group consisted of 360 participants, including school administrators and government teachers under the Ubon Ratchathani and Amnat Charoen Secondary Educational Service Area Office. The data collection tool was a five-point Likert scale questionnaire. The statistics used for data analysis included mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance (One-Way ANOVA) F-test.


The research findings revealed that: 1) the overall super-leadership of school administrators was rated at a high level; 2) comparisons of super-leadership among school administrators based on gender, position, work experience, and school size showed no significant differences; and 3) guidelines for promoting super-leadership indicate that to cultivate self-leadership among personnel, it is essential to expand understanding of operational practices and processes throughout the organization. To serve as effective role models in developing self-leadership, school administrators must exhibit exemplary behaviors that are widely accepted within the organization. Additionally, to encourage personnel to set their own goals, efforts should focus on raising awareness and understanding of both individual and organizational objectives. Furthermore, in fostering a positive mindset, school administrators must demonstrate constructive thinking as role models. They should also actively promote and support the development of self-leadership among staff. In terms of team building, school administrators must create opportunities for all members of the organization to express their opinions and collaborate, thereby fostering teamwork. Finally, to facilitate a culture of self-leadership, school administrators should establish standardized and systematic working methods to ensure that operations are conducted smoothly and effectively.

References

ชรินทร์ทิพย์ วงศ์ธรรม, เพ็ญผกา ปัญจนะ และเพลินพิศ ธรรมรัตน์. (2566). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(43). 150-160.

เทพรัตน์ ศรีคราม. (2562). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นิลุพัฒน์ จิตรสง่าวงค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประมาณ แสงเพ็ชร.(2560). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายสระขวัญสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชัย ลิ้มเฉลิม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำกับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

มนัชยา ธรรมลิขิต. (2559). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เรณุกา สุวรรณรัตน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรัญญา ยินดี, อัญชิษฐา เชียงนิยม, และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคนิวนอร์มัล. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5(4). 245-259.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของ สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์, นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(5). 183-198.

อรัญญา เปล่งวัน. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัศนีย์ สุกิจใจ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิจัยพุทธศาสตร์. 3(1). 23-35.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research. Activities Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Manz, C.C. & Sims, H.P. (1991). Super Leadership: Beyond the myth of heroic leadership. Organizational Dynamics. 19(4). 18-35.
Published
2024-11-12
How to Cite
จวบบุญ, ไอยราวรรณ; สิงห์พันธ์, พงษ์ธร; ลังกา, ไพวุฒิ. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 381-395, nov. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2576>. Date accessed: 11 feb. 2025.
Section
บทความวิจัย