การบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด

ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE DIGITAL ERA OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION ROI ET PROVINCE

  • นิตยา ตุ๊กสันเทียะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรทิวา ชนะโยธา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู, ครู กศน.ตำบล, ครูอาสาสมัคร กศน. จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test (One-Way ANOVA))


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการนิเทศภายใน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา โดยรวมและด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษา วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีที่หลากหลาย ประชุมวางแผนการจัดทำหลักสูตร กำหนดนโยบายใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูได้เข้ารับการอบรมการใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วางแผนและจัดทำโครงการนิเทศ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการวางแผนระบบการประกันคุณภาพการศึกษา


The objectives of this research were 1) to study the Academic administration in the Digital Era of School administrators under the Office of the Non-Formal and Informal Education, Roi-Et Province  2) to compare the Academic administration in the Digital Era of School administrators under the Office of Non-Formal and Informal Education, Roi-Et Province, classified by position, education level, and work experience 3) to gather recommendations for the Academic administration in the Digital Era of School administrators under the Office of Non-Formal and Informal Education, Roi-Et Province. The sample group consisted of 186 teachers, Sub-District Non-Formal and Informal teachers, Non-Formal and Informal volunteer teachers. The research tool was a 5-point scaled questionnaire with an IOC between 0.67 – 1.00 with a reliability of 0.89. the statistics used were frequency, percentage, mean, and standard deviation, t-test and one way analysis of variance F-test (One-way ANOVA). 


The results showed that: 1. The level of Academic administration in the Digital Era of School administrators under the Office of Non-Formal and Informal Education, Roi-Et Province overall, was a high level, sorting the highest average to the lowest were assessment, evaluation of education, learning management, internal supervision, research to develop education, education quality assurance, curriculum and curriculum administration. 2. Opinion level comparison results towards Academic administration in the Digital Era of School administrators under the Office of Non-Formal and Informal Education, Roi-Et Province, classified by position, educational level overall and aspects were not different. Classified by work experience overall, curriculum and curriculum administration, research to develop education, and education quality assurance which the difference was statistically significant at the .05 level. 3. Recommendations on  Academic administration in the Digital Era of School administrators under the Office of Non-Formal and Informal Education, Roi-Et Province found that administrators should promote and support exchange knowledge between teachers and educational personnel, learning outcomes should be measured and evaluated using a variety of techniques, course planning meeting, policies should be established to use research as a part of the learning process, teachers were encouraged to attend training on the use of technological media and educational innovations, planning and conducting supervision projects, digital technology applied to plan the educational quality assurance system.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง), สุนทร สายคำ และ ประจิตร มหาหิง. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development. 6(1). 263-276.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(1). 353–359.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2565). นโนบายและจุดเน้นการดำเนินงาน 2565. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมัทนา หาญสุริ. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Howard, Y. (2020). Executive Education in the Digital Age. Retrieved 6 November 2020. From https://www.matichon.co.th/education/news_1054751

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607 – 610.
Published
2023-10-18
How to Cite
ตุ๊กสันเทียะ, นิตยา; ชนะโยธา, พรทิวา. การบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 365-379, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2534>. Date accessed: 01 sep. 2024.