การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application สำหรับนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMET MODEL TO ENHANCE ENGLISH READING SKILL USING DIGITAL MEDIA THROUGH PICKATALE APPLICATION FOR BASIC EDUCATION STUDENTS

  • สุทัศน์ สังคะพันธ์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยดำเนินการวิจัยตามกรอบการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 15 คน นักเรียน 59 คน ในปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่                  1) แบบสอบถาม 2) แบบสอบถามการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบ 3) แบบทดสอบความรู้การจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ 6) แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย t-test การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application ในภาพรวมมีระดับคุณภาพปานกลาง ปัญหาของการจัดการเรียนรู้ของครูในภาพรวมการจัดการเรียนรู้ของครูมีปัญหาระดับมาก ความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในภาพรวมมีระดับคุณภาพมาก  2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application จากการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application ประกอบด้วย 1)  หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2)  จุดมุ่งหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เนื้อหาสาระของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล 3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application 1) โรงเรียนโสภโณประชาสรรค์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.04/87.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 2) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 96.47/94.12 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 3) โรงเรียนไพโรจน์วิชชาลัย มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 95.38/90.62 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application 1) ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application โดยผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด


The objectives of this research were: 1) to study the current situation and needs in learning management to enhance English reading skills using the digital media 2) to develop a learning management model to enhance English reading skills using the digital media 3)to implement the learning management model to enhance English reading skills using the digital media 4) to evaluate the learning management model to enhance English reading skills using the digital media Pickatale Application for basic education students. The research followed a research and development framework consisting of four phases. The target group included 15 school administrators and English teachers and 59 students. The research instruments used were: 1) questionnaires 2) guidebook evaluation questionnaire 3 learning management knowledge test 4) learning management performance evaluation 5) attitude evaluation towards learning management 6) model evaluation. Statistical methods used for data analysis include percentage, mean, standard deviation, hypothesis testing with t-test, content analysis.


The research findings can be summarized as follows: 1) The current situation study and issues in teachers' learning management development revealed that the overall quality of the current learning management model to enhance English reading skills using the Pickatale Application for basic education students was at a moderate level. Teachers' learning management issues were significant overall, while the need for developing teachers' learning management was high overall. 2) The development of the learning management model to enhance English reading skills using the Pickatale Application for basic education students identifies key components, including: 1) principles of the learning management model, 2) objectives of the learning management model, 3) content of the learning management model, 4) learning management processes, 5) media and learning resources, and 6) assessment and evaluation methods. 3) The implementation of the learning management model to enhance English reading skills using the Pickatale Application for basic education students showed the following results: 1) Sopanoprasan School achieved an efficiency (E1/E2) of 91.04/87.22, meeting the set criterion of 80/80, indicating an effective learning management model. 2) Roi Et Municipality Kindergarten School achieved an efficiency (E1/E2) of 96.47/94.12, meeting the set criterion of 80/80, indicating an effective learning management model. 3) Phairoj Wittayalai School achieved an efficiency (E1/E2) of 95.38/90.62, meeting the set criterion of 80/80, indicating an effective learning management model. 4) The evaluation of the learning management model to enhance English reading skills using the Pickatale Application for basic education students showed: 1) High satisfaction levels from administrators and teachers towards the learning management model. 2) The overall evaluation of the learning management model across all four aspects was at the highest level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตรลดา คนยืน. (2550). การใช้กลวิธีการสอนแบบ KWL Plus เพื่อพัฒนาการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

จิรา ลังกา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 : การวิจัยปฏิบัติการ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัทราวรรณ กวาวสาม และคณะ. (2566). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและวิจัย. 5(2). 439-444.

สมาน รังสิโยกฤษณ์. (2540). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : อักษรสารการ.
สุพัชชา คงเมือง และดวงพร โสมสุข. (2563). การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(1). 18-28.

อภิรักษ์ โตะตาหย๊ง และอริยา คูหา. (2554). ผลของการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือแบบบูรณาการการอ่านและการเขียน (CIRC) ที่มีต่อผลสมฤทธิ์ด้านการอ่านแบบการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนสองภาษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 3(2). 65-80.

อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

Day, Richard R. and Bamford, J. (1998). Extensive Reading in the second language classroom. 2nd ed.. Cambridge : Cambridge University Press. Elley, W.B. 1991.
Published
2024-06-27
How to Cite
สังคะพันธ์, สุทัศน์. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อดิจิทัล Pickatale Application สำหรับนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 314-326, june 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2531>. Date accessed: 01 sep. 2024.