แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

THE GUIDELINES OF LEARNING ORGANIZATION DEVELOPMENT FOR EDUCATIONAL INSTITUTION UNDER ROI ET PROVINCIAL OFFICE OF LEARNING ENCOURAGEMENT

  • ทักษิณ มาตภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ยุวธิดา ชาปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 193 คน โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified)


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากความต้องการสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ด้านการมีแบบแผนความคิด และด้านการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ 2. ผลการสร้างแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด มี 33 แนวทาง มีด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ด้านการมีแบบแผนความคิด และด้านการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน


 The objectives of this thesis research were: 1) To study the current situation desirable condition and the need for Learning Organization Development for Educational Institution under Roi Et Provincial Office of Learning Encouragement 2) To creating The Guidelines of Learning Organization Development for Educational Institution under Roi Et Provincial Office of Learning Encouragement. The sample group consisted of 193. Group of 9 people giving information. The tools used in the research were a questionnaire, a 5-level rating scale, with an IOC between 0.80-1.00 and a confidence value for the whole document equal to 0.92. Statistics used in the research included frequencies, percentages, means, and standard deviations. Needs analysis by prioritizing needs using the Modified Priority Needs Index (PNI Modified) method.


The results showed that: 1. The current condition is found to be at a high level in every aspect overall and in each aspect. Desired conditions found that overall and each aspect were at highest level in every aspect. The essential needs, arranged from highest to lowest, use of information technology, Shared vision, systematic thinking, personal mastery, mental model and learning and working as a team, respectively. 2. The results of creating The Guidelines of Learning Organization Development for Educational Institution under Roi Et Provincial Office of Learning Encouragement guidelines found that all 33 guidelines, use of information technology, Shared vision, systematic thinking, personal mastery, mental model and learning and working as a team, it is appropriate and feasible at the highest level. And when considering each aspect, it was found that every aspect was appropriate and at the highest level of feasibility in every aspect as well.

References

เขมนิจ บุญสาลี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฐิติพร พิบูลย์วงศ์. (2559). แนวทางการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธนาคารออมสินภาค 14. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัชชา บุญประไพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นฤมล จันทร์สุข. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุษรา โพธิ์พัฒนชัย. (2564). การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยครูสุริยเทพ.

บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CRP. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มินตรา อินต๊ะไชย. (2560). แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วีรยา สัจจะเขตต์. (2564). การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงาน กศน. (2561). แนวทางการประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). การบริหารการศึกษา : หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

Senge, P. (1990). The Fifth Disciplines: The Art and Practice of the Learning Organization. New York : Bantam Doubleday Dell Publishing Group.
Published
2024-09-20
How to Cite
มาตภาพ, ทักษิณ; ชาปัญญา, ยุวธิดา. แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 228-240, sep. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2530>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย