การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
DEVELOPMENT OF ANALYTICAL READING ABILITIES WITH SQ4R BLENDED WITH HIGHER ORDER QUESTIONS FOR GRADE 4 STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านโนนสะอาดหนองแต้ ตำบลดอกล้ำ อำเอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 10 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานแบบ Nonparametric โดยใช้การทดสอบ Wilcoxon Sign Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.63/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2. ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aims to: 1) Develop an SQ4R-based learning management approach combined with the use of higher-order questions for Grade 4 students, ensuring its effectiveness according to the 75/75 standard. 2) Compare the analytical reading skills of Grade 4 students before and after learning through the SQ4R approach combined with higher-order thinking questions. The sample group for this research consists of 10 Grade 4 students from Ban Non Sa-at Nong Tae School, Dok Lam Subdistrict, Pathum Rat District, Roi Et Province, under the Office of Roi Et Primary Educational Service Area 2, during the second semester of the 2023 academic year. The sample was selected using cluster random sampling. The data collection tools include 6 lesson plans totaling 12 hours of instruction and a 30-item multiple-choice test to assess analytical reading skills. The statistical methods used for data analysis include percentage, mean, and standard deviation, with hypothesis testing conducted using the Wilcoxon Sign Rank Test, a nonparametric method.
The research findings are as follows: 1. The effectiveness of the SQ4R-based learning management approach combined with higher-order questions for Grade 4 students (E1/E2) was 80.63/85.00, which is higher than the established effectiveness criterion of 75/75. 2. The analytical reading skills of Grade 4 students after learning through the SQ4R approach combined with higher-order questions were significantly higher than before, at the .05 level of statistical significance.
References
กฤติยาภรณ์ คนไว. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
งานสารสนเทศและฐานข้อมูลโรงเรียนบ้านโนนสะอาดหนองแต้. (2565). รายงานการประเมินการอ่านภาษาไทยของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในรายภาษาไทย ปีการศึกษา 2565. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนบ้านโนนสะอาดหนองแต้.
ชลธิดา หงษ์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอน แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชรา มหาวงษ์. (2558). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรูภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ใหมนา นาทันตอง. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
Walter Pauk. (1984). How to study in college. New York : Houghton Mifflin.