การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

A NEEDS TO DEVELOP EARLY MATH TEACHERS’ PROFESSIONAL COMPETENCY IN SCHOOL EXPANDS EDUCATIONAL OPPORTUNITIES ON THE OFFICE OF NAKHON PRATOM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1

  • วณิภา โอ้น มหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อภิสิทธิ์ สมศรีสุข มหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วันเพ็ญ นันทะศรี มหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 และเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.54 – 0.86 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.53 – 0.81 และค่าความเชื่อมั่น 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันเพียสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของความต้องการจำาเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 1) ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะหลักในสภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานในสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลของการจัดอันดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครู ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะหลักมากที่สุด คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม และการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานมากที่สุด คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รองลงมา คือ การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการชั้นเรียน ตามลำดับ


This research Its purpose is to Study the actual conditions and the conditions that should be in developing the professional competencies of mathematics teachers. Lower secondary school level under the jurisdiction of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 and to study the necessary needs for developing the professional competencies of mathematics teachers. Lower secondary school level under the jurisdiction of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 The target group is mathematics teachers. Lower secondary school level under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office, Area 1 Academic year 2021, number of 65 people. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire. It has a precision value between 0.54 – 0.86, a discriminatory power value between 0.53 – 0.81 and a confidence value of 0.86. Statistics used in the research include frequency, percentage, mean, standard deviation. Pearson correlation coefficient and multiple regression analysis.


The research results found that 1. Average of the necessary needs for developing the professional competencies of mathematics teachers. Lower secondary school level Under the jurisdiction of the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, it was found that 1) Average of practice in developing core competencies in actual conditions. is at a high level and the condition that should be at the highest level. The average value of practice in developing line competencies in the actual condition is at a high level and the condition that should be at the highest level.                  2. Results of the ranking of essential needs in developing teachers' professional competencies. It was found that the most necessary need for developing core competencies was focusing on results in work performance, followed by working as a team. and self-development respectively. The greatest need for developing line competencies is analysis, synthesis, and research for student development, followed by curriculum administration and learning management. and classroom management, respectively.

References

ณัฐภัสสร ชื่นสุขสมหวัง. (2556). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริสุทธิ์ธรรม พิมพ์ศิริ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงษ์ศักดิ์ ด้วงทา. (2557). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พัชราพร ราชโรจน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทเชิงตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในโรงเรียนเทศบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟเคอร์มีสท์.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). รายงานการวิจัยสมรรถนะครูและแนวทางพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). ประกันคุณภาพการศึกษาทุกคนทำได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิชย์.

วราลี ถนอมชาติ และ นภัส ศรีเจริญประมง. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการและการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.

สุไม บิลไบ. (2564). สมรรถนะ ทักษะ และบทบาทครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2544). ลักษณะวิชาและมิติต่างๆ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

Reimer, M.S. (2003). Teacher professional development an international review of the literature. Paris : UNESCO International Institute for Educational Planning.
Published
2024-01-23
How to Cite
โอ้น, วณิภา; สมศรีสุข, อภิสิทธิ์; นันทะศรี, วันเพ็ญ. การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 178-187, jan. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2514>. Date accessed: 22 dec. 2024.