บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ROLES OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN PROMOTING STUDENTS’ LITERACY UNDER SATUN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 2)เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2566 จำนวน 306 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา จากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน เท่ากับ .973 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบการศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา ครูที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน วุฒิการศึกษาต่างกัน ประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกัน และปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
The objectives of the research article were 1) to study the roles of school administrators in promoting students’ literacy under Satun Primary Educational Service Area Office; and 2) to compare the roles of school administrators in promoting students’ literacy under Satun Primary Educational Service Area Office based on the variables of gender, age, education level, work experience, and school size. The research samples were 306 teachers working at schools under the Satun Primary Educational Service Office, selected by stratified random sampling based on school size and simple random sampling by drawing lots. The research instrument was a Likert-scale questionnaire with a reliability value of.973. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test.
The research findings revealed that: 1) the roles of school administrators in promoting students’ literacy under the Satun Primary Educational Service Area Office, both holistic and individual aspects, were at a high level, and 2) the comparison results showed that the opinions of teachers with different genders, ages, education levels, work experiences, and school sizes were not different.
References
ปาณิสรา โชคคเณศร์, พรเทพ รู้แผน, ธีระวัฒน์ มอนไธสง. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามความคิดเห็นของครูหัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารการสอนสังคม. 2(2). 33–42.
ระติวรรณ สุขศิริ, จรัส อติวิทยาภรณ์. (2561). การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. งานวิจัยพัฒนา คุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น. 10. 1–9.
ลักขณา เก่วใจ, ชวนพิศ รักษาพล, ประมุข ศรีชัยวงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเขียนได้สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 8(1). 58–65.
สันติวัฒน์ จันทร์ใด. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง การอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 47(2). 449–469.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. (2565). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566. จาก https://www.sesao.go.th/news_form3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุภาวดี ปกครอง, สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์. 32(101). 51–67.
สุรีพร แก้วโพธิ์, พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษานครนายก. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2). 13–26.
สุรีรัตน์ คล้ายสถาพร. (2557). นิสัยรักการอ่านของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. 14(3). 52–64.
อาอีฉ๊ะ ส่งตอน. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ/ระดับนานาชาติและงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ประจำปี 2565. โรงแรมศรีลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ. 11 มีนาคม 2565. 231 - 248.
เอกราช ล้อแก้ว, สมใจ สืบเสาะ. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนไชยราชช้างแรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 10(1). 76–86.
Magnusson, J. E. (2020). Elementary principal and assistant principal instructional leadership practices influencing student literacy. Doctoral dissertation. Graduate School : Walden University.