การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสารนิพนธ์ ด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

DEVELOPING A LEARNING MANAGEMENT MODEL BASED ON THE CONCEPT OF PROVIDING 360-DEGREE FEEDBACK, TO INCREASE WRITHING SKILLS WITH A SET OF OUTLINE EXERCISES, FOR STUDENTS OF THE TEACHING PROFESSION

  • นีรนาท จุลเนียม มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
  • ธีรศักดิ์ อินทรมาตย์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กรุณา ลิ้มประเสริฐ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสารนิพนธ์ ด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู การดําเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 2 การศึกษาผลประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จํานวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัย ได้แก่ 1. แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2. แบบทดสอบความสามารถทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่องและเกณฑ์การประเมินความสามารถทักษะการเขียนอย่างสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed –rank test


ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 4.58 แปลผลอยู่ในระดับดีมาก และผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ความสามารถทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและจําแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน


This research aims to develop and study the effectiveness of a learning management model based on the concept of providing 360-degree feedback to increase writing skills with a set of outline exercises. For students of the teaching profession the research is divided into 2 phases: Phase 1, development of learning management models, and Phase 2, studies of the effectiveness of using learning management models. The sample group used in the research were second-year teaching students in the curriculum and teaching program. Rajabhat Rajanigandha University, 15 people, selected purposively the tools used to collect data in the research include: 1. A form to assess the appropriateness of the learning management format. 2. A test for writing skills with a set of outline exercises and criteria for evaluating creative writing skills. Statistics used to analyze the data include descriptive statistics. and Wilcoxon signed –rank test statistics


The results of the research found that the results of evaluating the appropriateness of the learning management model were equal to 4.58, interpreting the results as very good. and the results of the study of the effectiveness of the learning management model It was found that the ability to write skills with a set of outline exercises for teaching professional students, after the experiment was higher than before the experiment with statistical significance at the .01 level, both overall and classified according to each component.

References

กุลธิดา อ่อนมี และคณะ. (2563). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางตอนบน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(3). 981-994.

โชติมา หนูพริก. (2559). การประเมินเพื่อการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13(2). 18-30.

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรณิสรา จั่นแย้ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยกลยุทธ์เกมมิฟิเคชั่นและผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ.2562 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง 6 มีนาคม 2562 หน้า 12.

วราพร ทองจีน. (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา (รูปแบบที่ 2) กับการสอนแบบเดิม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ.์

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). การนำระบบข้อมูลย้อนกลับแบบ 360 องศา มาประยุกต์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 15(2). 37-74.

สุธิดา การีมี. (2565). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 1. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566. จาก https://www. scimath.org/article-science/item/12485-1-2

เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2557). ปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรมคือ อะไรในสะเต็มศึกษา. นิตยสาร สสวท. 42(185). 35-37.

อรนุช ศรีสะอาด, (2561) เรื่อง การประเมินตนเอง (Self-Assessment). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(2). 1-5.

Arbesman, M. & Puccio, G. (2001). Enhanced quality through creative problem teams. Journal of Nursing Administration. 31. 176-178.

Carlson, M.S. (1998). 360-degree feedback: The power of multiple perspectives. Popular Government. 68(2). 38-49.

EiE (Engineering is Element). (2017). The Engineering Design Process. Retrieved 22 March. 2023. From https://www.eie.org/overview/engineering-design-process

Esler et al. (2016). Socio-Environmental Systems (SES) Research: what have we learned and how can we use this information in future research programs. Current Opinion in Environmental Sustainability. 19(April 2016). 160-168.

Lewin, J. E.; & Reed, C. A. (1998). Creative problem solving in occupational therapy. Philadelphia : Lippincott-Raven Publishers.

London, M. (2003). Job feedback: Giving, seeking, and using feedback for performance improvement. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.

National Research Council. (2009). Engineering in K–12 education: Understanding the status and improving the prospects. Washington DC : National Academies Press.

Shute, V.J. (2008). Focus on Formative Feedback. Review of Educational Research. 78(1). 153-189.

Torrance, E. P. (1965). Rewarding Creative Behavior. Englewood Cliff, N.J. : Prentice Hall.

Treffinger, D. J. (1995). Creative Problem Solving: Overview of Educational Implications. Educational Psychology Review. 7. 301-312.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological process. Cambridge : Harvard University Press.

Ward, P. (2004). 360 Degree feedback. Mumbai : Jaico Publishing House.
Published
2024-07-15
How to Cite
จุลเนียม, นีรนาท; อินทรมาตย์, ธีรศักดิ์; ลิ้มประเสริฐ, กรุณา. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสารนิพนธ์ ด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 137-150, july 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2511>. Date accessed: 22 dec. 2024.