ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานรศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

VISIONARY LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • นฤวรรณ มาตชัยเคน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อระดับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและด้านการสร้างวิสัยทัศน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้บุคลากรเข้าใจตรงกับผู้บริหาร สนับสนุนทำให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของวิสัยทัศน์ กระตุ้นให้บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต


The objectives of this research were 1) to study the visionary leadership of the school administrators under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 3 2) to compare the visionary leadership of school administrators, and 3) To study recommendations on the visionary leadership of the school administrators. The   s ample group consisted of 275 school administrators and teachers. The research tool was a questionnaire. The statistics used were frequency, percentage, mean, and standard deviation t-test and one-way analysis of varience F-test (One-Way ANOVA)


The results showed that: 1) The visionary leadership of school administrators overall was at a high level when are rated as high when considering easc aspect order from the highest to the lowest were propagation of vision, followed by implementation of the vision, being a role model. The aspect with the lowest average score is vision creation. 2)  The results of comparing the level of the visionary leadership of the school administrators, classified by position, education level, work experience overall and vision formation was statistically significantly different at the .05 level, otherwise there was no difference. 3) Recommendations for the visionary leadership of the school administrators: administrators should have a clear vision, could be conveyed to personnel to understand exactly the same as the administrators, supporting teachers and school personnel to realize the importance of vision, should behave as a role model with virture, ethics, and honesty.

References

นพรินทร์ สุบินรัตน์, พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารอินทนิลทักษิณสาร. 13(ฉบับพิเศษ). 67-82.

ปัทมา ปันทวังกูร. (2561). ภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในแนวการศึกษาชุดวิชาการพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรับผู้นำทางการศึกษา (หน่วยที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิเชษฐ์ ภู่เฉลิมตระกูล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาล ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในแก่นการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

รักเกียรติ หงส์ทอง, และธนพงษ์ อุดมทรัพย์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในบริบทการนำการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 2(18). 73-87.

วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช. (2565). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บังคับบัญชาเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(7). 232-244.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง (2557). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิชาติการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษามหาสารคาม เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการบริหารจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิงห์คำ ยอดปานันท์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหาร การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุพรรณี บุญหนัก. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับความมีประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 16(74). 191-204.

สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาชั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Robbins, S. P. (2003). Organizational behavior: concepts controversies and application. 10th ed. New Jersey : Pearson prentice hall.

Zuzuki yochiyuki. (2021). ผู้นำก็ต้องมีโคช [25 Things the Leader Must Know] แปลโดย ทินภาส พาหะนิชย์. สมุทรสาคร : พิมพ์ดี.
Published
2023-10-17
How to Cite
มาตชัยเคน, นฤวรรณ; ดร., พระครูชัยรัตนากร. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานรศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 95-107, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2509>. Date accessed: 01 sep. 2024.