การบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอหนองกุงศรี 2 จังหวัดกาฬสินธุ์

INNOVATIVE ACADEMIC MANAGEMENT BY SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER NONG KUNG SI NETWORK CENTER FOR EDUCATION QUALITY DEVELOPMENT 2 IN KALASIN

  • สุดารัตน์ วรสาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอหนองกุงศรี 2 จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตาม วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) และวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอหนองกุงศรี 2 จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเรียงจากค่าค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  รองลงมาคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการวัดประเมินผลและงานทะเบียนเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอำเภอหนองกุงศรี 2 จังหวัดกาฬสินธุ์ (1) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง (2) ด้านการวัดประเมินผลและงานทะเบียนเทียบโอนผลการเรียน ควรมีระเบียบการวัดผลและประเมินผลการเรียนอย่างเป็นระบบ (3) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรมีการจัดให้ครูเข้าอบรมทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี  ควรมีการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ และเป็นศูนย์สื่อเทคโนโลยี (5) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรมีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา (6) ด้านการนิเทศการศึกษา ควรให้ครูนำแนวทางในการแก้ไขการเรียนการสอนไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ (7) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรมีการประชุมสัมมนาบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษา โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน


The objectives of the research were 1) to study the innovative academic administration of school administrators in the Educational Quality Development Network Center, Nong Kung Sri District 2, Kalasin Province 2) to compare the innovative academic administration of school administrators, classified by educational level, position, and work experience and 3) to collect recommendations as suggested by those persons. The target group were the administrators and teachers, 181 in number. The instrument for collecting the data was the questionnaire, The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested with t-test, F-test, and content analysis.


The research results were as follows: 1) The Innovative academic administration of school administrators in the Educational Quality Development Network Center, Nong Kung Sri District 2, Kalasin Province overall was at a high level, considering each aspect ordered from the highest to the lowest, they were quality assurance system development in educational institutions, followed by learning process development, research for educational quality development, measurement, evaluation and registration work compared to transfer of academic results, media and innovation development, and learning resource development, and the aspect with the lowest average was the educational supervision, respectively. 2) The comparison of the Innovative academic administration of School administrators, classified by education qualification, position, work experience, overall and each aspect was different at a statistically significant level of .05 3) Recommendations of the Innovative academic administration of School administrators in the Educational Quality Development Network Center, Nong Kung Sri District 2, Kalasin Province found that: (1) Learning process development: should emphasize that students could seek knowledge and develop their knowledge naturally and to their full potential (2) evaluation and registration work compared to transfer of academic results: there should be a systematic assessment and evaluation system. (3) Research to improve the quality of education: teachers should be prepared to attend classroom research training at least once a year. (4) Media and innovation development: the library should be developed to be a learning center, and a technology media center.  (5) Learning resource development: learning resources should be organized and used both inside and outside educational institutions.                     (6) Educational supervision: teachers should be encouraged to apply guidelines for revising teaching and learning to develop and improve teaching and learning to have quality.  (7) Quality assurance system development in educational institutions: there should be seminars for personnel in school to raise awareness of quality assurance within educational institutions and educational standards. The main goal was to improve the students’ quality.

References

จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2559). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา (Professional Education Administration: Basic Qualifications, Skills, and Vision). วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 5(2). 247-254.

ปรัตถกรณ์ กองนาคู. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยะนุช สุขประเสริฐ และจิราภรณ์ ผันสว่าง. (2566). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 3(1). 36-47.

วรวิทย์ บุญญาธิพิทักษ, จิราภรณ์ ผันสว่าง, พระครูชัยรัตนากร. (2565). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อําเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 477-491.

วรวิทย์ หงส์ไทย. (2563). แนวทางการใช้นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2). 15-28.

วราพร สินศิร. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7(3). 129-146.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กาฬสินธุ์ : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2560). ส่วนนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
Published
2023-10-17
How to Cite
วรสาร, สุดารัตน์; ผันสว่าง, จิราภรณ์. การบริหารงานวิชาการเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอหนองกุงศรี 2 จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 33-45, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2504>. Date accessed: 21 nov. 2024.