การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสตึก 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

ACADEMIC ADMINISTRATION OF SCHOOL ADMINISTRATORS, SATUK 3 GROUPUNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4

  • วรายุทธ โพธิ์ลา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสตึก 3  ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสตึก 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสตึก 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบ t-test แบบ Independent และแบบทดสอบ F-test One Way ANOVA


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาศึกษา กลุ่มโรงเรียน สตึก 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการจำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความเห็นมากกว่าต่อการบริหารวิชาการมากกว่าผู้มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 3) ข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนสตึก 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 สามารถรวบรวมข้ออเสนอแนะได้ทั้งหมด 17 ข้อ แต่ละด้าน ดังนี้ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร จำนวน 4 ข้อ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา จำนวน 2 ข้อ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จำนวน 3 ข้อ ด้านสื่อการเรียนการสอน จำนวน 3 ข้อ ด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 2 ข้อ ด้านการวัดผล ประเมินผล การศึกษา จำนวน 3 ข้อ


The purposes of this study were 1) to study the state of academic administration of school administrators, Satuk 3 Group under Buriram Primary Educational Service Area 4  2) to compare the academic administration of the school administrators in Satuk 3 Group under Buriram Primary Educational Service Area 4, classified by position, educational level, and work experience 3) to study recommendations for academic administration of school administrators, Satuk 3 Group under the Buriram Primary Educational Service Area 4. The sample group consisted of 129 school administrators and teachers. The research tool was a 5-point scale questionnaire with an IOC between 0.67 – 1.00 and a confidence interval of 0.96. the statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, independent t-test, and the F-test (One-way ANOVA).


           The results showed that; 1. Academic administration of school administrators, Satuk 3 Group under Buriram Primary Educational Service Area 4, overall, practice was at a high level. 2. The results of comparing opinions on academic administration of school administrators, Satuk 3 Group under the Buriram Primary Educational Service Area 4, classified by position and work experience were no difference. Classified by education level, the difference was statistically significant at the 0.05 level, with a higher education level than a bachelor's degree having a higher opinion of academic management than those with a bachelor's degree had more opinions towards academic management than those with bachelor’s degrees. 3. Recommendations for academic administration of school administrators in Satuk 3 Group under the Buriram Primary Educational Service Area Office 4 which a total of 17 recommendations could be collected in each aspect as follows: 4 items of curriculum and course administration, 2 items of teaching and learning management in educational institutions, 3 items of Learning process development, 3 items of teaching media, 2 items of educational supervision, and 3 items of  measurement and evaluation of education.

References

กมล ภูประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2561). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2557). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วราพร สินศิริ. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สังวาล นิยม. (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสามขาท่าหาดยาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 4. (2565). ประวัติสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 4. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565. จากhttp://www.brm4.go.th/info_br4/menubasic_br4/menuhis_br4.html

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2547). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : เดอะนอร์เลดจ์ เซ็นเตอร์.
Published
2023-09-19
How to Cite
โพธิ์ลา, วรายุทธ; เมยไธสง, สุเทพ. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสตึก 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 1-9, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2501>. Date accessed: 22 dec. 2024.