การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DEVELOPMENT OF THAI READING COMPREHENSION ABILITY OF GRADE 6 STUDENT USING SQ4R LEARNING WITH MIND MAP
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านดอนเวียงจันทน์ จำนวน 10 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที แบบกลุ่มเดียว (One samples t-test)
ผลวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.14/81.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดส่งเสริมการอ่านจับใจความโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research are as follows :1) Development of Thai Reading Comprehension Ability of Grade 6 Student using SQ4R learning with mind map to achieve an efficiency rating E1/E2 of 75/75 2) compare Grade 6th students’ learning achievements before and after using the SQ4R learning with maid map management to enhance Thai reading comprehension skills, and 3) study the satisfaction of Grade 6th students with the SQ4R learning with mind map management that enhances Thai reading comprehension skills.The cohort consisted of 10 pupils in the second semester of the academic year 2023 at Bandonviangjan School in Mahasarakham Province. The research instruments used were 1) lesson plans of SQ4R learning with mind map management, 2) a test of learning achievements in Thai reading comprehension skills, and 3) a student satisfaction questionnaire regarding SQ4R learning with mind map management. In data analysis including percentages, means, standard deviations, and paired t-tests were utilized.
The findings revealed that: 1) The activities of SQ4R learning with mind map management that enhances English reading comprehension skills has an efficiency value of 82.14/81.50, which was higher than the predetermined criteria, 2) The learning achievements of students using SQ4R learning with mind map management were statistically significantly higher after than before, and 3) The overall level of student satisfaction with the SQ4R learning with mind map management system was at the highest level.
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2552). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวลักษณ์ เพชรงาม. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : เทคนิค พริ้นติ้ง.
ปาริชาติ นามน้าวแสง. (2563). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
มันทนา อุตทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนบ้านดอนเวียงจันทน์. (2565). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. มหาสารคาม : ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านดอนเวียงจันทน์.
ฤดี กมลสวัสดิ์. (2564). จับใจความหัวใจสำคัญของการอ่าน. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566. จาก https://bsru.net/จับใจความหัวใจสำคัญของ/
วราวรรณ นันสถิตย์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(3). 73-85.
วัชนันท์ เพ่งสุข. (2560). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนอ่านแบบ เอส คิว โฟร์ อาร์ ร่วมกับผังความคิดในวิชาภาษาไทยที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและ เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงณกรณราชวิทยาลัย. 4(3). 72-79.
วิไลลักษณ์ ไชยอาจ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Megawati, M., & Fitriani, D. (2020). The Effect of SQ4R Technique on Students’ Reading Comprehension. Yudika (Jurnal Pendidikan Unsika). 8(1). 1–9.
Robinson, F.P. (1941). Diagnostic and Remedial Techniques for Effective Study. London : Harper & Brothers.
Ryu Chun Moon and Sang Hee Kwan. (2022). Improving Students’ Intensive Reading Ability by Using Survey-Question-Read-Review-Recite-Reflect Method. Retrieved 12 March 2021. From https://jurnal.stkipmb.ac.id/index.php/jelita/ article/view/95