การพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคม โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

THE DEVELOPMENT OF SOCIAL AWARENESS THROUGH ROLE-PLAYING APPROACH FOR SIXTH-GRADE STUDENTS

  • พัชรพงศ์ อุดมกัน มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วัชรี แซงบุญเรือง มหาวิยาลัยนครพนม
  • พิจิตรา ธงพานิช มหาวิยาลัยนครพนม

Abstract

การพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคม โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งนำบทบาทสมมติเข้ามาเสริมการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนบ้านนาขามโนนสวนปอ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก


Social awareness is an important skill in the 21st century for people to live happily in society. Role-playing activities can be used to develop such a skill. The purposes of this research were: 1) Comparing student learning outcomes between before class and after class using role-playing activities 2) Comparing students' social awareness before class and after class using role-play activities and 3) Study student satisfaction with learning activities using role-play activities. The sample used in the research was 30 students in Grade 6, Ban Na Kham Non Suan Po School Group, Semester 2, Academic Year 2023, under the Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The tools used in the research are as follows: 1) learning plans using role play activities,4 plans, 3 hours per plan, total 12 hours. 2) Academic achievement test.  3) Student Social Awareness Scale and 4) Student satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were mean, standard deviation and dependent samples t-test.


The findings were as follows: 1. Student learning outcomes after studying is higher than before studying. Statistically significant at the .05 level. 2. Students' social awareness was higher after studying than before. Statistically significant at the .05 level. And 3. Overall student satisfaction is at a high level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จันทรัสม์ คังคา. (2552). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการตระหนักรู้ทางสังคมของนิสิต ชั้นปีที่ 1 ที่พักในหอพักมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิรัสย์ แสนคำภา. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชนัญชิดา น้อยวิเศษ. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบหมวกหกใบร่วมกับการแสดงบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญยงค์ ตาลวิลาส. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือแบบ TAI เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พัชรกมล เต็มใจ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนแบบบทบาทสมมติกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

เสกข์ วงศ์พิพันธ์. (2564). การเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 9(2). 107–118.

Ossimitz, G. (2005). Information, Communication and Social Awareness. Hawai : Hawai University.
Published
2024-08-23
How to Cite
อุดมกัน, พัชรพงศ์; แซงบุญเรือง, วัชรี; ธงพานิช, พิจิตรา. การพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคม โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 341-352, aug. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2494>. Date accessed: 01 sep. 2024.