การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

CREATING A NETWORK OF COMMUNITY PARTNERSHIPS TO DEVELOP THE VOCATIONAL SKILLS OF STUDENTS OF HIN LEK FAI SCHOOL GROUP HUA HIN DISTRICT, PRACHUAP KHIRI KHAN PROVINCE

  • ธธิดา จันทร์อ่ำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณัฐกานต์ ภาคพรต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ไพรัช มณีโชติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Abstract

การวิจัยเรื่องการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้    1) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน ในการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาผลของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ครู 6 คน นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ จำนวน 40 คน เจ้าหน้าที่สภาเด็กและเยาวชนตำบลหินเหล็กไฟ จำนวน 3 คน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้ คู่มือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน และ แบบประเมินทักษะอาชีพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนหินเหล็กไฟ  เป็นแบบประเมินก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนกลุ่มเป้าหมายโดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) 2) การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 3) ใช้สถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การสังเคราะห์ผลการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) การหาร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ยก่อนทำกิจกรรม-หลังทำกิจกรรม


ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีขั้นตอนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นรับรู้จุดประสงค์ของการสร้างเครือข่าย 2) ขั้นประสานชุมชน/หน่วยงานเครือข่าย 3) ขั้นสร้างข้อตกลงร่วมกัน 4) ขั้นบริหารจัดการเครือข่าย 5) ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์ และ 6) ขั้นรักษาความสัมพันธ์ของเครือข่ายอย่างยั่งยืน 2. การศึกษาผลของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังดำเนินการตามคู่มือพบว่านักเรียนมีทักษะอาชีพสูงขึ้น โดยภาพรวมมีคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 63.26  ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการสร้างความร่วมมือให้โรงเรียน หน่วยงานและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุน รวมถึงประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนให้ดีขึ้นได้


Research on Creating a network of community cooperation to develop students' vocational skills. Hin Lek Fai Subdistrict School Group, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province. The objectives of the research are as follows: 1) to create a network of community cooperation in developing vocational skills of students in the Hin Lek Fai Subdistrict School Group, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province.                2) to study the results of creating a collaborative network in developing vocational skills of students in the Hin Lek Fai Subdistrict School Group, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province. The sample groups are as follows: 6 educational institution administrators, 6 teachers, 40 students in the Hin Lek Fai Subdistrict School Group, 3 Hin Lek Fai Subdistrict Children and Youth Council officials, and 3 village philosophers. Research tools. The details are as follows. Guide to creating a community cooperation network to develop students' career skills and student career skills assessment form Grade 5, Hin Lek Fai School Group It is an assessment before and after participating in career development activities. Statistics used in the research include 1) analyzing data on the number of target groups by distributing frequencies (Frequency) and finding percentages (Percentage) 2) analyzing statistical data used to find the quality of the tools used in the experiment 3) using Narrative statistics Content analysis Synthesizing the research results is percentage, mean, and standard deviation and 4) finding the percentage progress of the average score before the activity - after the activity.


The research results were as follows: 1.  Creating a network of community cooperation to develop students' vocational skills. Hin Lek Fai Subdistrict School Group, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province. It was found that there were 6 steps in creating a community cooperation network to develop students' career skills. 1) Recognizing the purpose of network creation. 2) Coordinating between the community and participating units. 3) Establishing mutual agreements. 4) Managing the network.  5) Developing strong relationships within the network. 6) Maintaining sustainable network relationships. 2. The results of creating a network of community cooperation to develop students' vocational skills. Hin Lek Fai Subdistrict School Group, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province after implementing the manual, it was found that students had higher vocational skills. Overall, the progress score increased to 63.26. The findings from the research are the creation of community cooperation networks to develop students' career skills. Hin Lek Fai Subdistrict School Group, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province It creates cooperation for schools. Agencies and communities can participate in activities, promote, support, and evaluate operations to develop students' career skills for the better.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์และ วิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และอรุณศรี จิตต์แจ้ง. (2556). พลังเครือข่ายในพื้นที่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2551). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พีระพร รัตนาเกียรติ์ และกนกวรรณ ศรีวาปี. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักดิ์นิพน สว่างวงศ์. (2557). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 14(2). 12-24.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Agranoff Robert. (2006). Inside Collaborative Networks: Ten Lessons for Public Managers. Public Administration Review. 66(s1). 56–65.

Super, D. E. (1957). Career pattern as a basic for vocational. New York : Harper and Brothers.
Published
2024-07-24
How to Cite
จันทร์อ่ำ, ธธิดา; ภาคพรต, ณัฐกานต์; มณีโชติ, ไพรัช. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 327-340, july 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2428>. Date accessed: 21 nov. 2024.