การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว โดยใช้สมองเป็นฐานเสริมด้วยแบบฝึกทักษะ ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
THE ACTION RESEARCH OF MATHEMATICS LEARNING ACTIVITY ON MEASUREMENT BASED-ON BRAIN-BASED LEARNING SUPPLEMENTED WITH EXERCISE BOOK EMPHASIZING ON MATHEMATICAL REASONING FOR PRATHOMSUKSA 3 STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเสริมด้วยแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70.00 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองแวง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมครู 4) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 5) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 6) แบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ 7) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 8) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การวัดความยาว โดยใช้สมอง เป็นฐานเสริมด้วยแบบฝึกทักษะส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นอุ่นเครื่อง 2) ขั้นนำเสนอ 3) ขั้นเรียนรู้ 4) ขั้นสรุป และ 5) ขั้นประยุกต์ใช้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.76 คิดเป็นร้อยละ 48.80 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15.05 คิดเป็นร้อยละ 75.20 ซึ่งนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70.00 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.43 คิดเป็นร้อยละ 47.10 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 14.52 คิดเป็นร้อยละ 72.60 ซึ่งนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.00 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
The purposes of this research were: 1) to develop learning activities of Mathematics 2) to study and compare the students' learning achievement 3) to study and compare the ability of mathematical reasoning using brain-based learning supplemented with exercise book focusing on mathematical reasoning with 70.00 percent criteria. This research was a quantitative and qualitative research. The target group consisted of Pratomsuksa 3. There are 21 students studying in the semester of the academic year 2024 at Bannongwaeng school. Obtained by purposive sampling. The Instruments of this research consisted of 1) the lesson plans 2) the exercise book focusing on mathematical reasoning 3) teacher's behavior observation 4) students' behavior observation 5) interview from 6) the tests were used at the end of the practice cycle 7) the mathematical achievement test 8) the test on mathematical reasoning ability. The researcher analyzed data using the statistics method including percentage, mean and standard deviation.
The research results found as follows: 1. The development of mathematics learning activities on measurement by using brain-based learning supplemented with exercise book to improve learning achievement and mathematical reasoning of students consisted of 5 steps: 1) Warm-up 2) Present 3) Practice 4) Summary 5) Apply. 2. Students had achievement test results on mathematics; the pretest mean score was 9.76 or 48.80 percent and the posttest mean score was 15.05 or 75.20 percent. 3. Students had the ability on mathematical reasoning, the pretest mean score was 9.43 or 47.10 percent and the posttest mean score was 14.52 or 72.60 percent. The posttest mean score was not less than 70.00 percent and the posttest mean score was higher than the pretest one.
References
กฤติยา ภูศรีโสม. (2565). การวิจัยเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
กิติโรจน์ ปัณฑรนนทกะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์และการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(3). 21-40.
ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์. (2550). การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brian base Learning) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้ โดยเข้าใจสมอง. ชุมพร : โรงเรียนบ้านท่ามะปริง.
นวลน้อย เจริญผล. (2548). การส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์. 49(560-562). 16-26.
พรพิไล เลิศวิชา. (2552). การสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด Brain - Based Learning. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พิสุทธิพงษ์ ขุมเพ็ชร์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : 3-คิว มีเดีย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Eric Jensen. (2000). Brain-based learning. San Diego. CA : The Brain Store Publishing.
Green & Petty. (1978). Language Workbook and Practices Materials. Developing Language Skill in the Elementary School. New York : Allyn and Bacon.
Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore : Springer.
National Council of Teacher of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards For School Mathematics 2000. Reston, Virginia : The National Council of Teacher of Mathematics.