การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

THE GUIDELINES DEVELOPMENT OF A NEW NORMAL ACADEMIC ADMINISTRATION IN SCHOOLS UNDER ROI-ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • อาทิตยา สรรพโภชน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชัยยนต์ เพาพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา และ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.954 และ 0.957 ตามลำดับ และ ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 7 คน และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการสอนที่หลากหลาย 3) การจัดการเรียนรู้ 4) ด้านสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และ 5) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้ มีความต้องการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการเรียนการสอนที่หลากหลาย และด้านที่มีความต้องการพัฒนาต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ 18 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 4 แนวทาง 2) ด้านการเรียนการสอนที่หลากหลาย จำนวน 3 แนวทาง 3) การจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แนวทาง 4) ด้านสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี จำนวน 3 แนวทาง และ 5) การประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 4 แนวทาง และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน


This research has objective, 1) to study the components of a new normal academic administration in schools; 2) to investigate the current state, desired state and needs of development a new normal academic administration in schools; and 3) to develop the guidelines of a new normal academic administration in schools under Roi-Et primary educational service area office 2. The research design was mixed-methods, divided into 3 phases. Phase 1: Study the components of a new normal academic administration in schools, the components evaluated by 5 experts. Phase 2:  investigate the current state, desired state and needs of development a new normal academic administration in schools, the sample were 332, the data were analyzed using questionnaire of the current state and desired state with 5 rating scales and 0.954, 0.957 of reliability. Phase 3: develop the guidelines of a new normal academic administration in schools, the data were collected by interview 7 school administrators and teachers who responsible for academic department in schools where there was the best practice in academic administration. The guidelines were evaluated in terms of appropriateness and feasibility by 5 experts. The statistics used were mean, standard deviation, and Priority Needs Index (PNImodified). 


The findings of the study revealed the following: 1. The components of a new normal academic administration in schools under Roi-Et primary educational service area office 2 consisted of 1) curriculum development, 2) variety of teaching and learning, 3) learning management, 4) materials, innovation and technology, and  5) learning evaluation. 2. The current state of a new normal academic administration in schools overall rated in more level, while the desired state of a new normal academic administration in schools overall rated in the most level. Upon evaluating the needs of development, it was found that the aspect with the highest development need consisted of learning management, curriculum development, variety of teaching and learning, materials, innovation and technology and learning evaluation respectively. 3. The guidelines of a new normal academic administration in schools under Roi-Et primary educational service area office 2 comprised of 5 components and 18 guidelines;  1) curriculum development consisted of 4 guidelines, 2) variety of teaching and learning comprised of 3 guidelines, 3) learning management consisted of 4 guidelines,  4) materials, innovation and technology consisted of 3 guidelines, and 5) learning evaluation with 4 guidelines. The results of the appropriateness and feasibility evaluation overall rated in the most level.

References

กรรณิการ์ แก้วประสิทธิ์. (2564). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนบนฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 18 สิงหาคม 2564. 1011-1025.

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 19(2). 1-6.

ชนิสรา ชุมวงศ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชิโรบล วรรณธะนะ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ตรีสุคนธ์ คูนาเอก. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีรัตน์ ผลาผล. (2566). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(2). 1-10.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษา และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะโควิด 2019. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวตักรรมท้องถิ่น. 7(4). 323-333.

ธีรยุทธ์ มาณะจักร. (2565). ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ตามแนวคิดผู้ออกแบบชีวิตที่มีคุณค่า. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัตพงษ์ ช่ออังชัน. (2565). ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดวิถีใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จํากัด.

ประภัสสร ทวีการ. (2566). การพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 21(2). 238-252.

พรชนก บุพศิริ. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(3). 241-254.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารศิลปะการจัดการ. 4(3). 783-795.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2563). INSTRUCTIONAL DESIGN FOR ONLINE LEARNING. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ (TDRI). สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565. จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic

มารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุจิรา มรกตอัมพรกุล. (2566). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรในยุคนิวนอร์มอล เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนในสหวิทยาเขตทุ่งกุลาทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 3(1). 27-35.

ฤทธิกร โยธสิงห์. (2563). ภาวะผู้นาดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ในฐานวิถีชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565. จาก https://www.ret2.go.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2563. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565. จาก http://www.onec.go.th/index.php/page/view/ Information/4187

สินีนาฏ นาสีเสน. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการและวิจัย. 12(4). 1-15.

อัมพร พินะสา. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อุดม ลิ้มไพบูลย์. (2565). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความปกติใหม่ในสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Published
2024-07-15
How to Cite
สรรพโภชน์, อาทิตยา; เพาพาน, ชัยยนต์. การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 299-313, july 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2422>. Date accessed: 01 sep. 2024.