โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

THE DEVELOPMENT OF THE PROGRAMS TO ENHANCEMENT IN INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF TEACHERS UNDER MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • สุพัฒนพงค์ สารพล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็น 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 298 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่คาดหวัง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากดัชนีความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีด้านทักษะกระบวนการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทฤษฎี และด้านการฝึกฝน พัฒนาตนเองและเพื่อนครู  และ 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เนื้อหาของโปรแกรม 4) วิธีการดำเนินการ 5) การวัดและประเมินผลโปรแกรม เนื้อหาสาระประกอบด้วย 4 มอดูล ได้แก่ มอดูล 1 ด้านทักษะกระบวนการเรียนรู้ มอดูล 2 ด้านความรู้ ทฤษฎี มอดูล 3 ด้านการฝึกฝน พัฒนาตนเองและเพื่อนครู และมอดูล 4 ด้านสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี โดยผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด


The objectives of this research article are: 1) To study the actual situation Expected conditions and necessary needs 2) To develop a program to strengthen the Instructional Leadership of teachers under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office, Area 1. The sample group was 298 teachers and the group of informants included experts. Number of people: 5 people. Tools used in the research include questionnaires and assessment forms. Statistics used in data analysis include frequency, percentage, arithmetic mean. standard deviation and the index of essential needs.


The results of this study were as followings: 1) The actual condition of Instructional Leadership of teachers under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 is overall at a moderate level. As for the expected condition Overall, it is at the highest level. and necessary needs Sorted by the index of essential needs from highest to lowest is the area of ​​innovative media. Technology in learning process skills, knowledge, theory, and practice Develop yourself and your fellow teachers and 2) the program to strengthen the Instructional Leadership of teachers in the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office, Area 1, consisting of 1) principles, 2) objectives of the program, 3) content of the program, 4) methods of implementation, 5) Measure and evaluate programs The content consists of 4 modules, namely Module 1 on learning process skills, Module 2 on knowledge and theory, Module 3 on practice and development of self and fellow teachers, and Module 4 on media, innovation, and technology. The evaluation results suitability. The feasibility of the guidelines by experts was found to be overall appropriate and feasible. at the highest level.

References

กนกรัตน์ ภู่ระหงษ์. (2549). ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิตของผู้บริหารและพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน : ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุนนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จันทร์ชลี มาพุทธ. (2546). การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วย Storyline Approach. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 14(2). 1-9.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

จุฑาภรณ์ ไปนาน. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธิดาวัลย์ เสตะจันทร์. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นําทางวิชาการของผู้นิเทศภายในโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุจิรา มานะ. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิสุทธิ์ เวียงสมุทร. (2553). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-2. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2565). แผนดำเนินงานประจำปี 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Fullan, M. (2006). Change theory: A force for school improvement. Center for Strategic Education. 157. 3-14.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Pellicer, L.O. & L.W. Anderson. (1995). A Handbook for Teacher Leaders. CA : Corwin Press.
Published
2024-07-12
How to Cite
สารพล, สุพัฒนพงค์; หกสุวรรณ, สุทธิพงศ์. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 257-270, july 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2409>. Date accessed: 31 dec. 2024.