แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

INTERNAL SUPERVISION PROCESSES DEVELOPMENT GUIDELINES OF SCHOOL UNDER YASOTHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • ธีระภัทร พินิจมนตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา​ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน​ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 28 คน และครู 284 คน รวม 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นปรับปรุง ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินแนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษามีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.49 – 0.56 2. แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา พบ 17 แนวทาง ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลการนิเทศ 5 แนวทาง 2) การจัดทำแผนการนิเทศ 4 แนวทาง 3) การปฏิบัติการนิเทศ 4 แนวทาง และ 4) การติดตามและประเมินผลการนิเทศ 4 แนวทาง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


 The objectives of this research were 1) to study the current situation, desirable conditions, and necessary requirements for the Internal Supervision Processes within educational institutions, and 2) to explore development guidelines for these processes, divided into two phases. In Phase 1, the current situation, desirable conditions, and necessary requirements were studied. Sample sizes were determined using Cochran's and Morgan's tables, with 28 school administrators and 284 teachers, totaling 312. The research tool was a 5-level Likert scale questionnaire with reliability indices ranging from 0.80 to 1.00. Statistical analysis included percentages, means, standard deviations, and the importance index of necessary requirements. In Phase 2, development guidelines were studied, consisting of two steps. Step 1 involved a group of experts 9 individuals using semi-structured interviews and qualitative content analysis. Step 2 involved another group of experts 7 individuals using assessment forms. Statistical analysis included means and standard deviations.,


The results showed that: 1. Overall, the current state of internal communication processes within educational institutions and their specific aspects are at a moderate level, while the desired conditions are at the highest level. The Modified Priority Needs Index from min to max was 0.49 – 0.56. 2. Competencies Development Guidelines of School Administrators found 17 guidelines, there are data analysis Internal Supervision Processes 5 guidelines, planning 4 guidelines, practices 4 guidelines and monitoring and evaluation 4 guidelines. The feasibility propriety of Internal Supervision Processes development guidelines of School overall and each aspect was highest level.

References

ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐกานต์ รัชชะ และคณะ. (2561). การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences. 11(1). 41-52.

ธีระภัทร พินิจมนตรี และชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2566). ขั้นตอนการศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 7 RMU NGRC2023. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6 ธันวาคม 2566. 781-792.

นัฐวุฒิ หาญชนะ, ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์. (2567) แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 159-170.

ไพศาล วรคำ. (2565). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา : นาฏศิลป์ โฆษณา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). นิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอน และการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์นครปฐม.

วัลลภา อารีรัตน์. (2558). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(3). 165–173.

สมโภชน์ นันบุญ และจำเนียร พลหาญ. (2565). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย บัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 22 กรกฎาคม 2565. 325-336.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1.(2565). รายงานผลการติดตามประเมินผล และนิเทศการศึกษา. ยโสธร : กลุ่มนิเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จํากัด.

สุริยา สุนาอาจ. (2562). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Pelling, N.J. (2013). Supervisory Identity Development and Its Relationship to Supervisory Experience Counselling Experience and Training in Supervision. Dissertation Abstracts International. 7(3). 553-558.
Published
2024-06-06
How to Cite
พินิจมนตรี, ธีระภัทร; เรืองสุวรรณ, ชยากานต์. แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 228-241, june 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2399>. Date accessed: 01 sep. 2024.