แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

DEVELOPMENT GUIDELINES OF TECHNOLOGICAL LEADERSHIP FOR SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • ลลนา ช่อมะลิ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 23 คน และครู 309 คน รวม 332 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นปรับปรุง ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นปรับปรุงอยู่ระหว่าง 0.49 – 0.60 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาพบ 18 แนวทาง คือ การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน 5 แนวทาง การมีวิสัยทัศน์ 4 แนวทาง การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านการจัดการเรียนรู้ 3 แนวทาง การมีจริยธรรมด้านการใช้เทคโนโลยี 3 แนวทาง และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านการประเมินผล 3 แนวทางความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


The objectives of this research are: 1) to study the current situation, desirable conditions, and priority needs index of technological leadership of school administrators and 2) to explore the approaches for developing technological leadership among school administrators. This mixed-method research was divided into two phases. Phase 1 studied the current situation, desirable conditions, and priority needs index of technological leadership of school administrators. The sample group consisted of 23 school administrators and 309 teachers, totaling 332 participants. The research instrument was a five-point Likert scale questionnaire.  The statistics used included frequency, percentage, mean, standard deviation, and priority needs index. Phase 2 studied the development guidelines for technological leadership of school administrators was divided into 2 steps. 1: studied technological leadership development guidelines by interviewing 9 experts with the semi-interview forms, after all, analyze the information from the interview forms for doing descriptive analysis. 2: evaluated development guidelines by the 7 experts evaluate  the feasibility and propriety assessment form of technological leadership development guidelines. The statistics used to analyze the data consisted of mean and standard deviation.


The results showed that: 1) The current situation overall and each aspect was moderate. Desirable conditions overall and each aspect was highest level. The Modified Priority Needs Index from min to max was 0.49 – 0.60. 2) Development guidelines of technological leadership for school administrators consist of 18 guidelines. There are 5 guidelines for utilizing technology in management, 4 guidelines for vision creation, 3 guidelines for promoting technology use in learning management, 3 guidelines for ethical technology use, and 3 guidelines for promoting technology use in assessment. Overall and each aspect was highest level.

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย (ICT2020). กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). การสํารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนโยบายและมาตรฐานการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565).กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาวิสัยทัศน์นักบริหาร.

จิิณณวัฒน์ ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมอ๊อฟเซท.

ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทินกร บัวชู. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร. 13(2). 285-294.

ไพศาล วรคำ. (2565). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). มหาสารคาม : ตักสิลา การพิมพ์.

ลลนา ช่อมะลิ และชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2566). ขั้นตอนการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 7 RMU NGRC2023. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6 ธันวาคม 2566. 770-780.

ศิราพร สังข์สี และสาริศา เจนเขว้า. (2566). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี ด้านการบริหารและปฏิบัติการของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนสหวิทยาเขตรัตนรังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 10(2). 1-11.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิทย์ ขำคล้าย และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 12 พฤษภาคม 2565. 1327-1342.

International Society for Technology in Education. (2009). ISTE Standards administrators. Retrieved 1 August 2023. From https://www.iste.org/standards/ for-administrators
Published
2024-06-06
How to Cite
ช่อมะลิ, ลลนา; เรืองสุวรรณ, ชยากานต์. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 242-256, june 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2398>. Date accessed: 31 dec. 2024.