แนวทางพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดร้อยเอ็ด

GUIDELINES FOR DEVELOPING STRATEGIC MANAGEMENT OF THE OFFICE OF NON-FORMAL EDUCATION PROMOTION AND INFORMAL EDUCATION ROI ET PROVINCE

  • อรอุมา แก้วสียา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรเชต น้อยฤทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินแนวทางพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักวิชาการ จำนวน 198 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยวิธีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNIModified)


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ความต้องการจำเป็นเรียงจากความต้องการสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ และการกำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ 2. ผลการออกแบบ สร้างและประเมินแนวทางพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ทั้ง 32 แนวทาง มีด้านการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์ โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน


             The objectives of this thesis research were: 1) to study the current situation desirable condition and the need for strategic management development guidelines of the Office of Non-formal Education and Informal Education. Roi Et Province 2) to design and build Assess the development approach for strategic management of the Office of Non-Formal Education and Informal Education. The sample group consisted of 198. Group of 6 people giving information. The tools used in the research were a questionnaire, a 5-level rating scale, with an IOC between 0.67-1.00 and a confidence value for the whole document equal to 0.92. Statistics used in the research included frequencies, percentages, means, and standard deviations. Needs analysis by prioritizing needs using the Modified Priority Needs Index (PNI Modified) method.  


              The results showed that:1. The current condition is found to be at a moderate level in every aspect overall and in each aspect. Desired conditions found that overall and each aspect were at a moderate level in every aspect. The essential needs, arranged from highest to lowest, include strategy implementation. Strategic analysis Evaluating and controlling strategies and strategy determination, respectively2. The results of designing, creating and evaluating strategic management development guidelines found that all 32 strategic management approaches have strategic analysis aspects. Strategy setting Strategy implementation and strategic evaluation and control Overall, it is appropriate and feasible at the highest level. And when considering each aspect, it was found that every aspect was appropriate and at the highest level of feasibility in every aspect as well.


 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จีรนันท์ สุทธิโคตร. (2559). แนวทางการบริหารงานเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์. (2543). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : ศูนย์เอกสารและตำรา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ถวิล มาตรเลี่ยม. (2544). ปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเป็นฐานบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

พักต์ผจง วัฒนสินธิ์. (2542). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรา มั่งชม. (2540). นโยบายธุรกิจ การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิษณุโลก : ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์คณะวิทยาจัดการ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). การบริหารและการพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิราณี ปราบหลอด. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2540). การวิจัยการตลาด ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2552). กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

สำนักงาน กศน. (2559). รายงานผลการดำเนินงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565. จาก http://203.172.142.7/onie/index.php/

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). คู่มือแนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนที่จัดการศึกษาร่วมกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Thompson, A. and A.J. Strickland. (1995). Strategic Management : Concepts and Cases. 8th ed. New York : Irwin.

Wheelen, T.L. and D.J. Hunger. (1999). Strategic Management Business Policy. 7th ed. London : Prentice-Hall.
Published
2023-08-24
How to Cite
แก้วสียา, อรอุมา; น้อยฤทธิ์, สุรเชต. แนวทางพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 265-276, aug. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2393>. Date accessed: 17 may 2024.
Section
บทความวิจัย