ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร ในสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร

RELATIONSHIP BETWEEN STRATEGIC LEADERSHIP AND CONFLICT MANAGEMENT OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN SCHOOLS IN THE SOUTHERN KRUNGTHON GROUP UNDER THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION

  • รุ่งทิวา เหล่าอั้น มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • กฤษฎิ์ กิตติฐานัส มหาวิทยาลัยธนบุรี

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับของการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation)


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ รองลงมา ได้แก่ ด้านวิธีคิดเชิงปฏิวัติ และด้านผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจในระดับสูงมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ระดับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษากลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบการหลีกเลี่ยงหรือถอนตัว รองลงมา ได้แก่ แบบการแข่งขันหรือสั่งการแบบเผด็จการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมี 2 ข้อ คือ แบบการประนีประนอม และแบบความร่วมมือและการแก้ปัญหา 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก เรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย คือ แบบการหลีกเลี่ยงหรือถอนตัว (r = 0.713) แบบการแข่งขันหรือสั่งการแบบเผด็จการ (r = 0.700) แบบความร่วมมือกันหรือการแก้ปัญหา (r = 0.629) แบบการปรองดองหรือความราบรื่น (r = 0.603) และแบบการประนีประนอม (r = 0.558)


             The objectives of this research are to 1) examine the level of strategic leadership of school administrators in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration,  2) assess the level of conflict management by school administrators in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration, and 3) investigate the relationship between strategic leadership and conflict management by school administrators in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration. The sample group consisted of 350 teachers in schools in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration in the 2022 academic year. Data were collected through questionnaires and analyzed using statistical software to find frequencies, percentages, averages, standard deviations, and test correlations between variables using Pearson's correlation.


           The research findings indicate that: 1) The level of strategic leadership of school administrators in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration is at a high level overall. The highest average score is related to setting a vision, followed by revolutionary thinking, while leader with a high level of understanding is rated the lowest. 2) The level of conflict management by school administrators in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration is at a high level overall. The highest average score is related to avoidance or withdrawal, followed by competitive or autocratic styles. The two lowest-rated aspects are compromising and collaborative, and problem-solving. 3) The results of the data analysis reveal that strategic leadership has a positive and statistically significant relationship at the .01 level with conflict management by school administrators in the Southern Krungthon Group under the Bangkok Metropolitan Administration. The order from the highest to the lowest coefficients was avoidance or withdrawal (r = 0.713), competitive or autocratic styles (r = 0.700), collaborative or problem-solving (r = 0.629), harmony and peaceful (r = 0.603), and compromising (r = 0.558).

References

คชาภรณ์ เสริมศรี. (2557). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 37(4). 25-31.

จิตทามาศ เชื้อโฮม. (2553). วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฏฐกิตติ์ สังขพันธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธนบุรี.

นพพล ศุภวิทยาเจริญกุล. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10). 2641-5658.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

มันทนา กองเงิน. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูฟีด วาโซะ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2544). พฤติกรรมองค์กร. เชียงราย : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงราย.
Published
2024-03-21
How to Cite
เหล่าอั้น, รุ่งทิวา; กิตติฐานัส, กฤษฎิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร ในสถานศึกษา กลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 184-195, mar. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2390>. Date accessed: 04 may 2024.
Section
บทความวิจัย