การสร้างพลังอำนาจครูกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

TEACHER EMPOWERMENT AND PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY OF SCHOOLS IN PRAEWA KHAM MUANG SCHOOL GROUP UNDER KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • สมคิด สกุลสถาปัตย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างพลังอำนาจครูของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างพลังอำนาจครูและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 318 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิประกอบด้วยครูของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน  175  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างพลังอำนาจครูของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน 3) การสร้างพลังอำนาจครูและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


           The objectives of this research were: 1) to study teacher empowerment of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3; 2) to study professional learning community of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3; and 3) to study the correlation between teacher empowerment and professional learning community of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. This research was survey research. The population included 318 teachers of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The sample was obtained via stratified random sampling technique, comprised of 175 teachers of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The instrument used for data collection was a 5-point rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, Standard Deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.


           The results of this research were found that: 1) teacher empowerment of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 were at high level in overall and each aspect; 2) professional learning community of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 were at high level in overall and each aspect; and 3) teacher empowerment and professional learning community of schools in Praewa Kham Muang School Group under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 in overall were highly positive correlations at statistical significance of the .01 level.

References

กนิษฐา ทองเลิศ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 5(2). 533-548.

กุลนาถ สิทธิกูล และคณะ. (2566). แนวทางการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(43). 266-275.

เกินศักดิ์ ศรีสวย และคณะ. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

จารุวรรณ บุญศร. (2565). การศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์์บูรณาการ. 2(4). 25-36.

ดารารัตน์ อ้นถาวร. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University. 6(2). 115-130.

ตรียพล โฉมไสว และคณะ. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับครูในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(1). 123-136.

ทิวา มีรัตน์ และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมพลังอำนาจครูกับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8(30). 64-74.

ธัณย์สิตา สุรศิษฐ์ชานล. (2562). ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 830-843.

นพมาศ พยุงวงษ์. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 9(2). 10-28.

ประณาลี ลือชา และคณะ. (2566). บทบาทการบริหารจัดการชุมชนหางการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารราชนครินทร์. 20(1). 42-53.

ปัณณทัต จําปากุล. (2565). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: วิถีแห่งการพัฒนาครูยุคดิจิทัล. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2(2). 57-73.

ปารวี วินทะไชย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(4). 68-81.

พงษ์ศักดิ์ สาลีกงชัย และคณะ. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8). 4133-4148.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2564). รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 1(1). 66-75.

พิชญา แสงทองทิพย์ และคณะ. (2565). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 53-67.

ภิราช รัตนันต์. (2017). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยในองค์การ. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(1). 21-38.

รัตนาวดี แสนยศ. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6(1). 66-81.

วรวุธ ถาวรทรัพย์ และคณะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 20(88). 97-110.

วสิษฐ์ สมจิตศรีปัญญา. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(10). 1-16.

วิรันทร์ดา เสือจอย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักดิ์ดา คำโส. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(1). 170-182.

สฤษดิ์ วิวาสุข. (2565). รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(2). 36-54.

สุขวัชร เทพปิน และคณะ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(5). 217-229.

แสงรุนีย์ มีพร. (2563). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: เส้นทางสู่การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14(2). 21-32.

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ และคณะ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2). 65-80.

อรวรรณ สุขศรี และคณะ. (2566). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 7(1). 176-186.

เอมรินทร์ จันทร์บุญนาค. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(3). 1041-1055.

DuFour, R., DuFour, R., Eaker, R., Many, T. W., & Mattos, M. (2016). Learning by doing. A handbook for Professional Learning Communities at Work. 3rd ed. Bloomington, IN : Solution Tree Press.
Sasin Executive Education. (2516). ความเป็นเลิศในการบริการ. Retrieved 2 May 2023. From execed.sasin.edu/wp-content/uploads/2016/04/SE-TH.pdf

Scott C. D., Jaffe D. T. (1991). Empowerment : Building a committed Workforce. California : Koga Page.
Published
2024-03-04
How to Cite
สกุลสถาปัตย์, สมคิด. การสร้างพลังอำนาจครูกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 237-251, mar. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2387>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย