ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร

SUPER LEADERSHIP FOR SCHOOL ADMINISTRATOR EFFECTING HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF MUKDAHAN SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE

  • ดารารัตน์ เกื้ออนันต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เสาวนี ศิริสุขศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร 2) ศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร มีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำกับความเป็นองค์การสมรรถนสูง ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากที่สุด คือ ด้านการเป็นแบบอย่างของผู้นำตนเอง และน้อยที่สุดคือ   ด้านการสร้างภาวะผู้นำตนเอง 2) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ได้แก่ การเป็นแบบอย่างของผู้นำตนเอง (X2)  การเสริมแรงอย่างสร้างสรรค์ (X4) และการสร้างพลังเชิงบวก (X3) 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ด้านการเป็นแบบอย่างของผู้นำตนเอง ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในการในปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน ให้เป็นที่ยอมรับในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาการเสริมแรงอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ สนับสนุนให้บุคลากรค้นพบศักยภาพ ปฏิบัติงานให้ตรงตามสายงานและความถนัด และกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานและชี้แจงแก่บุคลากรอย่างชัดเจน และเสนอแนะให้แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ด้านการพัฒนาการสร้างพลังเชิงบวก ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย และแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีการระดมความคิด และแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างสร้างสรรค์


            The objectives of this research were: 1) to study the relationship between super leadership for school administrator and high performance organization of schools under the office of Mukdahan Secondary Educational Service Area Office 2) to study super leadership for school administrator affecting high-performance organizations of schools under the office of Mukdahan Secondary Educational Service Area and 3) to study the way to develop super leadership for school administrator affecting high-performance organizations of schools under the office of Mukdahan Secondary Educational Service Area. There are 2 phases of research. Phase 1: Studying the relationship between super leadership for school administrator and high-performance organization by using Pearson product moment coefficient and studying the effect of super leadership on high-performance organizations of schools by using multiple regression analysis. The samples were administrators and teachers total 269 persons. The research tool was a 5-point estimation scale questionnaire with a reliability of 0.98. Phase 2: Studying the approach to develop super leadership for school administrators by using in-depth interview from 3 qualified persons.


           The research findings were as follows: 1. Super leaders for school administrator in all aspects had a positive correlation with high-performance organizations of schools under the office of Mukdahan Secondary Education Service Area significantly at the .01 level, with the “Highest” correlation was the aspect of being a role model for self-leadership and the “Lowest” correlation was the building of self-leadership. 2. Super leadership for school administrator affecting high-performance organizations of schools under the office of Mukdahan Secondary Educational Service Area, including being a role model of self-leadership (X2), creative reinforcement (X4), and creating positive energy (X3). 3. The development approaches of super leadership affecting high-performance organizations guidelines of educational institutions under the office of Mukdahan Secondary Educational Service Area. Self-leadership role model as behaving as a good role model both in work and behaving in order to be accepted in educational institutions. Development of creative reinforcement, including encouraging personnel to discover their potential, performing the duties according to the line of work and expertise, and setting criteria for performance evaluation and clarification to personnel as well as suggestions for correcting any mistakes with be an ally. Developing positive energy: encouraging personnel to participate in setting goals and guidelines for work by organizing brainstorming and expressing ideas together creatively.

References

กัลยาณี ศรีหามาตย์. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทรรัตน์ สิทธิสมจินต์. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูง. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(1). 171-180.

ชลธิชา บุนนท์ วัลลภา อารีรัตน์ และเกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2564). การศึกษาองค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นลธวัช ยุทธวงค์ (2564). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(7). 149-164.

บัณฑิตา สิทธิพงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปณิลิน จันภักดี. (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัสรินญา ผ่องแผ้ว. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมที่มีสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(1). 13-26.

ปุญชรัศมิ์ เหมบุรุษ และวีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยม ขนาดใหญ่พิเศษที่ส่งเสริมการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 10(2). 269-281.

พิชญาภา ยืนยาว. (2561). ผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1). 2886-2899.

พิชัย ลิ้มเฉลิม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำกับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตศึกษา :มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ภาราดร แก้วบุตรดี ศศิกิจจ์ อ่ำจุ้ย และอาณัติ เดชจิตร. (2564). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์. วารสารวิจัยวิชาการ. 4(2). 283 – 296.

มัทธีรัตน์ บำรุงจิตต์ และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2558). การวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบของสุดยอดภาวะผู้นำในองค์การ. วารสารคณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 32(1). 21-46.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2562). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์การสมรรถนะสูงโดยใช้พลังร่วมเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์. 7(1). 102-223.

สรรเพชญ โทวิชา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556 - พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุชาติ เสนาสี วันเพ็ญ นันทะศรี และทรัพย์หิรัญ จันทรรักษ์. (2566). องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยวิชาการ. 6(1). 105-118.

สุริยะ ทวีบุญญาวัตร. (2559). รูปแบบองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(1). 795-814.

อนุวัตร ศรีพระนาม และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2560). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(2). 256-264.

อภินุช นาเลาห์. (2565). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Charles C.Manz and Henry P.SimsJr. (1989). Super leadership: Leading others to lead themselves. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.

Charles C.Manz and Henry P.SimsJr. (1991). SuperLeadership: Beyond the myth of heroic leadership. Organizational Dynamics. 19(4). 18-35.

David F.E. (2005). The influence of superleader behaviors on organization commitment, job satisfaction and organization self-esteem in a self-managed work team. Leadership & Organization Development Journal. 2(4). 18-30.

De Waal, A. (2005). Is your organization ready for beyond budgeting. Measuring Business Excellence. 9(2). 56-67.

Frank Buytendijk. (2006). The five keys to building a high-performance organization. Business Performance Management Magazine. 4(1). 24-47.

Jeffery. (2003). Self-leadership and Super Leadership: The Heart and Art of Creating Shared Leadership in Teams. Texas : Department of Management Sciences. Abilene Christian University.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures. 5(1). 75-86.
Published
2024-02-21
How to Cite
เกื้ออนันต์, ดารารัตน์; ศิริสุขศิลป์, เสาวนี. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 222-236, feb. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2384>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย