การพัฒนาความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีโดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดหมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

DEVLOPING THE MEDIA LITERACY ABILITIES BY USING PROBLEM – BASED LEARNING MANAGEMENT ACCOMPANIED WITH SIX THINKING HATS OF THE 7th GRADE STUDENTS

  • วัชรวิทย์ พันธุ์เสือ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พรชัย ผาดไธสง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดหมวก 6 ใบ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เปรียบเทียบความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 26 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี เป็นแบบอัตนัยจำนวน 15 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One Sample  t –test และ t-test (Dependent Sample)


             ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานแนวคิดหมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 80.61/82.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดหมวก 6 ใบ มีความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดหมวก 6 ใบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


             The purposes of this research were: 1) to develop Problem-Based learning with the concept of six thinking hats to be effective according to the 75/75 criterion. Comparing with the development of media literacy abilities of students according to the criteria of 75%. And to compare the learning achievement before and after. The target group of this research consisted of the  grade students in Semester 1, Academic Year 2023, with 1 classroom of 26 people. The research tools were divided into three categories including a learning management plan with 6 plans. developing the ability to be literate in the technological media test was a write-up examination and 15 items.  And a test to measure learning achievement. The kind of test was objective, and 30 items. The statistics used in data analysis are Percentage Mean Standard Deviation One Sample t–test and t-test (Dependent Sample).


           The results of the research found that: 1. Problem-Based learning and the concept of six thinking hats of the  grade students effective to 80.61/82.82 which is above the threshold 75/75. 2. A student who receives Problem-Based learning and the concept of six thinking hats has the development of media literacy abilities after learning was higher than the specified criteria at statistical significance at .05 level.  3. A student who receives Problem-Based learning and the concept of six thinking hats has the learning process. The learning achievement after learning management was significantly higher than before learning management at .05 level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตติ์โศภิณ บุญเชิด และวาสนา กีรติจำเริญ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(4). 251-263.

เจษฎา สามี. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้ง ที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัส ลับความคิด เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ : บริษัท ออฟเซ็ทครีเอชั่น จำกัด.

ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2559). เท่าทันสื่อ คือ ภารกิจพลเมือง. สงขลา : เอสพริ้นท์ (2004).

รุสดา จะปะเกีย. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิภาดา พินลา. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิไลลักษณ์ โภคาพานิชย์. (2559). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงการ เคลื่อนที่และพลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการ จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550a). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เล่ม 1 หมวกความคิด 6 ใบ. กรุงเทพฯ : กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับ การเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
Published
2023-09-19
How to Cite
พันธุ์เสือ, วัชรวิทย์; ผาดไธสง, พรชัย. การพัฒนาความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีโดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดหมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 171-183, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2380>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย