การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

ACADEMIC ADMINISTRATION OF SMALL SCHOOLS IN EDUCATIONAL QUALITY DEVELOPMENT 4 OF LAM NAM YOUNG UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • อนุกูล มามั่งคั่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด  เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ 4 ลุ่มน้ำยัง จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สถานศึกษาควรกำหนดเนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ วิเคราะห์ผู้เรียน ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ โรงเรียนควรพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัย การนิเทศภายในควรเป็นวิธีการที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน โรงเรียนควรวางแผนการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน


           The objectives of this research are 1) to study the state of academic administration of small schools in educational quality development 4 of Lam Nam Young under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, 2) to compare the academic administration of small schools in educational quality development 4 of Lam Nam Young under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, classified by educational background, positions, and work experience, and 3) to gather suggestions for academic administration of small schools in educational quality development 4 of Lam Nam Young under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, from the target groups, including 86 school administrators and teaching staff. The research utilized a questionnaire with a Likert scale of 5 levels The statistical analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA for variance analysis.


           The results show that: 1) Academic administration of small schools in Educational Quality Development 4 of Lam Nam Young under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, overall, varies across different dimensions. The highest average score is in the curriculum development aspect, followed by teaching and learning management, media innovation and educational technology, outcome assessment and evaluation, research for educational quality development, and internal quality assurance system development. The lowest average score is in educational dissemination. 2) The results of comparing the opinions of staff members regarding the academic administration of small schools in Educational Quality Development 4 of               Lam Nam Young, categorized by position, show no significant differences. However, there are significant differences in opinions based on educational background and work experience at a statistical significance level of .05. 3) The recommendations for the academic administration of small schools in educational quality development 4 of Lam Nam Young, suggest that schools should define learning experiences, analyze students' thinking, foster analytical skills, summarize knowledge, develop educational quality through research, establish cordial internal communication methods, and plan the use of media, innovation, and educational technology before the beginning of each semester.

References

กัญจ์ชลิการ์ กันทะเจตน์. (2563). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการ บริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิคระยอง. สารนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

กาญจนา ศรีลากัลย์. (2559). การศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก.วารสารการบริหารและพัฒนา. 2(1). 175–189.

กุลธิดา เลนุกูล. (2554). ตัวชี้วัดการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสถาบันบัณฑิต พัฒน บริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธิดารัตน์ วรรณพันธ์, สมหญิง จันทรุไทย. (2563). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(6). 217–228.

นุชเรศ คำดีบุญ, ประเสริฐ เรือนนะการ. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 11(1). 163–175.

ประภาภรณ์ พลรักษ์, นริสานันท์ เดชสุระ, และพรเทพ รู้แผน (2560). แนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4(2). 41-48.

พนม วิลัยหล้า. (2560). สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงพุทธในองค์การทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์. 7(1). 37–45.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (2565). รายงานประจำปี 2565. ร้อยเอ็ด : สำนักงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อาคม ยุพานิชย์ และสุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(1). 137-150.

Gulick, Luther, Lindon Urwick. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton : Augustus M. Kelley.
Published
2024-02-23
How to Cite
มามั่งคั่ง, อนุกูล; ถิ่นแสนดี, ธีรภัทร์. การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 16-30, feb. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2372>. Date accessed: 01 may 2024.
Section
บทความวิจัย