การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็ก ในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

MANAGEMENT OF STUDENT SUPPORT SYSTEM IN THE NEW NORMAL ERA FOR SMALL SCHOOLS OF LAM NAM YOUNG EDUCATIONAL QUALITY DEVELOPMENT GROUP 4 UNDER ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • ภัทราวดี มามั่งคั่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการคัดกรองนักเรียน รองลงมาคือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งต่อนักเรียน 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3  จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า ครูที่ปรึกษาควรเข้าใจความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบทั้งด้านบวกและด้านลบ ควรคัดกรองนักเรียนในยุค NEW NORMAL ด้วยระบบออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ผู้บริหารค้นหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงาน และส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาเป็นการภายในให้ครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจำวิชา นักจิตวิทยา และควรมีระบบการส่งต่อนักเรียนให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกผ่านช่องทางออนไลน์เพี่อรับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม


            The objectives of this research are 1) to study the management of student support system in the new normal era for small schools of Lam Nam Young educational quality development group 4 under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, 2) to compare the management of student support system in the new normal era for small schools of Lam Nam Young educational quality development group 4 under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, classified by position, education level, and work experience, and 3) to gather suggestions for management of student support system in the new normal era for small schools of Lam Nam Young educational quality development group 4 under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3. The sample group consisted of 86 school administrators and teachers. The research tool was a 5-point scale questionnaire. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-Way ANOVA).


           The results show that: 1) Management of student support system in the new normal era for small schools of Lam Nam Young educational quality development group 4 under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3, were generally at a high level. The factor with the highest average was screening students, followed by knowing each student personally, promoting and developing students, and preventing and resolving student issues. The factor of referring students had the lowest average score. 2) The findings of the comparison of the levels of opinion toward the management of student support system in the new normal era for small schools of Lam Nam Young educational quality development group 4 under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3 are similar regardless of positions, educational levels, and work experiences. 3) Suggestions for management of student support system in the new normal era for small schools of Lam Nam Young educational quality development group 4 under Roi Et Primary Educational Service Area Office 3 found that the advisor teachers should be aware of the differences. Each student has a different background in life where they forge a variety of behaviors, both positive and negative. In the New Normal era, students should be screened utilizing a range of methods on an internet system. Executives should search informational resources to aid in their work and direct students to counselors, nurses, instructors of subjects, and specialists when necessary. Additionally, a system for connecting students with outside experts via online resources is necessary in order to receive further assistance.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ถนัด ประดับเพชร, สุเทพ เมยไธสง (2565) การพัฒนาคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเมืองเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 2(3). 38-49.

ปรียาภัทร ศรีไกร, ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี (2565). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL ของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 3 เมืองศรีภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 2(3). 1-12.

พัชรา หงคำมี, สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ ได้ศึกษาการพัฒนาแนวทางดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 12(1). 423–436.

แพรพลอย พัฒนะแสง, ธรินธร นามวรรณ ได้ศึกษาการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 11(1). 664–678.

ยุวดี โกสุมาลย์. (2560). สภาพการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลอืนักเรียนโรงเรียนสุวรรณภูมิ พิทยไพศาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Johnson, S. (2016) Thanks, but no-thanks for the feedback. Assessment & Evaluation in Higher Education. 42(6). 850-859.
Published
2023-09-18
How to Cite
มามั่งคั่ง, ภัทราวดี; ถิ่นแสนดี, ธีรภัทร์. การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL โรงเรียนขนาดเล็ก ในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4 ลุ่มน้ำยัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 1-15, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2370>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย