ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูพลศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร
THE RELATIONSHIP BETWEEN THE LEADERSHIP BEHAVIOR OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND THE EMPOWERMENT OF PHYSICAL EDUCATION TEACHERS UNDER THE YASOTHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร 2) ศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูพลศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูพลศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร และครูพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร จำนวน 382 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูพลศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูพลศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้านพฤติกรรรมภาวะผู้นำที่มุ่งเน้นคน กับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูพลศึกษา มีความสัมพันธ์กันสูงสุด (r=.805)
The objectives of this research were to 1) study the level of leadership behavior among school administrators under the jurisdiction of the Yasothon Primary Educational Service Area Office, 2) examine the level of empowerment among physical education teachers within educational institutions under the Yasothon Primary Educational Service Area Office, and 3) investigate the relationship between the leadership behavior of administrators and the empowerment of physical education teachers within educational institutions under the jurisdiction of the Yasothon Primary Educational Service Area Office. The sample group used in this research consisted of 382 administrators and physical education teachers under the jurisdiction of the Yasothon Primary Educational Service Area Office. The statistical methods employed in this research included percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient.
The findings of this research indicated that: 1) the level of leadership behavior among school administrators under the jurisdiction of the Yasothon Primary Educational Service Area Office was high, 2) the level of empowerment of physical education teachers within educational institutions under the Yasothon Primary Educational Service Area Office was high, and 3) there was a statistically significant positive relationship at the .01 level between the leadership behavior of school administrators and the empowerment of physical education teachers within educational institutions under the jurisdiction of the Yasothon Primary Educational Service Area Office. The highest correlation was between people-oriented leadership behavior and the empowerment of physical education teachers (r = .805).
References
ฐิติพัฒน์ วีณิน. (2566). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐิติรัตน์ ลีลาเอกนิติ. (2565). การบูรณาการพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานและแบบมุ่งสัมพันธ์ในการบริหารสถานศึกษา. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.). 4(2). 51-56.
ตรียพล โฉมไสว, ศักดา สถาพรพจนา และ เนติ เฉลยวาเธศ. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับครูในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(1). 123-136.
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.
พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
พิชญา แสงทองทิพย์ (2566). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 53-67.
เมธี ปิลันธนานนท์. (2536). การบริหารบุคคลในวงการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พิทักษ์อักษร.
ยุวธิดา ชาปัญญา. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยทฤษฎีฐานราก. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เรืองยศ ครองตรี. (2551). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิญญา เชิดชำนาญ. (2561). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 24(1). 512-523.
วิรันทร์ดา เสือจอย, ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(3). 1157-1171.
สยุมภู สัจเขตร์. (2566). พฤติกรรมผู้นําสำหรับการบริหารสถานศึกษา. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 7(1). 1-12.
อมรา ไชยดำ, วิชิต กำมันตะคุณ. (2559). ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 13(61). 209-223.
อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อาพัทธ์ เตียวตระกูล. (2548). การวิเคราะห์สัมฤทธิ์ผลของการบริหารองค์กรกีฬาของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.