การส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพโดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกาย แบบประยุกต์ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านของผู้สูงอายุในตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

PROMOTING PHYSICAL FITNESS FOR HEALTH USING APPLIED EXERCISE ACTIVITIES BASED ON FOLK WISDOM OF THE ELDERLY IN MAI DAT SUBDISTRICT BANG RACHAN DISTRICT SINGBURI PROVINCE

  • คธาวุธ ศรียา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • จิตรลดา รอดพลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ภัทรพงษ์ ยิ่งดำนุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี วิธีดำเนินการวิจัยนำโปรแกรมกิจกรรมการออกกำลังกายแบบประยุกต์ มาศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุจำนวน 30 คน อายุ 60 - 69 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน ใช้เวลาครั้งละ 30 - 45 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ออกกำลังกายแบบปกติ ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ  5 รายการ ได้แก่ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง หาค่าดัชนีมวลกาย แตะมือด้านหลัง ยืน-นั่งบนเก้าอี้ 30 วินาที เดินเร็วอ้อมหลัก และยืนยกเข่าขึ้นลง 2 นาที เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย โปรแกรมการออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยอันดับ (Mean Rank)  สถิติทดสอบ (Wilcoxon Matched-pairs Signed-ranks Test) และสถิติทดสอบ (Mann Whitney U Test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


             ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มการออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน ดีขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายการทดสอบเดินเร็วอ้อมหลัก เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า รายการทดสอบดัชนีมวลกาย, แตะมือด้านหลัง, ยืน-นั่งบนเก้าอี้30 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 2 นาที ก่อนและหลังการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านมีประสิทธิผลต่อสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ ด้านความคล่องแคล่วว่องไว และความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนที่ ดังนั้น กิจกรรมการออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพ และสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2545-2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.dop.go.th/download

คณิน ประยูรเกียรติ และก้องสยาม ลับไพรี. (2561). การพัฒนาวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566. จาก http://www2.dpe.go.th/th/subarticle/1/29แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย ผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี

คธาวุธ ศรียา, ภัทรพงษ์ ยิ่งดำนุ่น และคมกริช บุญเขียว. (2565) การพัฒนากิจกรรมการออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร Lawarath Social E – Journal. 4(3). 203-222.

ไทยโพสต์. (2565). ประกาศปี 66 เป็นปีสุขภาพสูงวัยไทย. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566. จาก https://www.thaipost.net/human-life-news/294209/

ปฑิตตาห์ วงค์แสงเทียน และคณะ. (2566). ผลของการเต้นแอโรบิกผสมผสานกับการใช้ผ้าขาวม้าที่มีต่อความอ่อนตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของผู้สูงอายุในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย. 2(3). 50-63.

ปาณิสรา ทัศนัยนา และคณะ. (2564). การเปรียบเทียบดัชนีมวยกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของประชากรวัยทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 10(1). 133-146.

โรงพยาบาลรามคำแหง. (2559). ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2566. จาก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/144

ลดาวัลย์ ชุติมากุล. (2560). ผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นที่มีต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมการทรงตัว และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวัลย์ กันหาชน, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, และกฤษณา บุญทา. (2557, กันยายน) เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้ายการเต้น Paslop และการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวแบบจำเพาะต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวในอาสาสมัครที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 47(3). 143-152.

ศักดิ์ชัย โตอ่อน ผู้ให้สัมภาษณ์. 5 กุมภาพันธ์ 2566. ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี.

Alida, Esmail. et al. (2020). Effects of Dance/Movement Training vs. Aerobic Exercise Training on cognition, physical fitness and quality of life in older adults: A randomized controlled trial. Journal of Bodywork and Movement Therapies. 24(1). 212-220.

Linqian, Lu. et al. (2021). Effects of different exercise training modes on muscle strength and physical performance in older people with sarcopenia: a systematic review and meta-analysis. BMC Geriatrics. 21(1). 1-30.
Published
2024-04-05
How to Cite
ศรียา, คธาวุธ; รอดพลอย, จิตรลดา; ยิ่งดำนุ่น, ภัทรพงษ์. การส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพโดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกาย แบบประยุกต์ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านของผู้สูงอายุในตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 252-264, apr. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2281>. Date accessed: 01 may 2024.
Section
บทความวิจัย