การพัฒนาโมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

THE DEVELOPMENT OF ONLINE PROFESSIONAL TEACHER TRAINING SUPERVISION MODEL TO ENHANCE THE INSTRUCTIONAL COMPETENCY FOR PRE-SERVICE TEACHER IN BUNDITPATANASILPA INSTITUTE

  • ณัฐวุฒิ ภูมิพันธุ์ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของโมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบออนไลน์ 2) ออกแบบและพัฒนาโมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบออนไลน์ 3) ศึกษาผลการใช้โมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 15 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ  5 คน ประเมินความถูกต้องและรับรองโมเดล 3) อาจารย์นิเทศก์ 15 คน ครูพี่เลี้ยง 15 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีครู จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินและรับรองโมเดล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของโมเดลการนิเทศฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบออนไลน์ ประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าเชิงระบบ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยดังนี้ (1) ปัจจัยด้านแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้นิเทศ (2) ปัจจัยด้านสนับสนุนการนิเทศ 2) กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นประชุมวางแผนการ (Plan) (2) ขั้นเตรียมการนิเทศ (Prepare) (3) ขั้นปฏิบัติการนิเทศ (Perform) (4) ขั้นประเมินผลการนิเทศ (Evaluate) 3) ผลลัพธ์ของโมเดล 4) ข้อมูลย้อนกลับ 2. การพัฒนาโมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ผ่านการประเมินและรับรองโมเดลจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ผลการรับรองประเมินโมเดลอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อองค์ประกอบของกระบวนการนิเทศอยู่ในระดับมาก 3. ผลการใช้โมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้นักศึกษาครู 3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจด้านกระบวนการนิเทศออนไลน์ของอาจารย์นิเทศครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจด้านการใช้ประโยชน์ การนิเทศออนไลน์ของอาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยง พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3.3 ผลการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการองค์ความรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีสมรรถนะอยู่ในระดับมาก  


This research aims to 1) study the components of online professional teacher training supervision model 2) design and develop an online professional teacher training supervision model 3) To study the results of using the online professional teacher training supervision model to enhance the instructional competency for pre-service teacher. The samples consisted of 1) Education administrator in Bunditpatanasilpa Institute, supervisor teachers, mentor teachers, and professional training students, totaling 16 people 2) five experts evaluate the correctness and certify the format 3) fifteen supervisor teachers, fifteen mentor teachers, and fifteen teaching professional training students by purposive sampling. The tools used in the research were: opinion questionnaire, model evaluation and certification form, satisfaction assessment and learning management competency assessment.


The research findings were as follows:  1. There were 4 factors found as follows: 1) Input factor regarding in (1) guidelines for supervisors and (2) supporting supervision 2) The process of the training supervision including planning, preparation, perform and evaluate 3) The results of the model 4) Feedback. 2. The development of online professional teacher training supervision model to enhance the instructional competency for pre-service teacher in Bunditpatanasilpa Institute.  The assessment and certification model from 5 experts was at the most appropriate level and the results of the analysis of the opinions of experts on the components of the supervision process was at a high level. 3. The result of trials model were: 3.1 Results of the evaluation of satisfaction with the online supervision process of supervisory teachers, mentor teachers, and teaching professional training students found that it was appropriate at a high level.  3.2 Results of evaluation of satisfaction regarding usability through the online supervision of supervisory teachers and mentors was found to be appropriate at a high level (average), and the satisfaction of students practicing teaching professional experience was found to be appropriate at a high level. 3.3 The results of the evaluation of knowledge management competency of teaching professional training students found that their competency was at a high level. 

References

ขนิษฐา หินอ่อน. (2560). การพัฒนาระบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการสอนภาคทฤษฎีทาง ออนไลน์ สำหรับอาจารย์นิเทศก์ครูช่างระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนกฤต อั้งน้อย. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

มะลิวัน สมศรี. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง 7 พฤษภาคม 2563 หน้า 10-14.

รินรดี พรามณี. (2563) การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 3(2). 84-102.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2559). คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเศษ 591- 592 ประจำปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิกจำกัด.

สุขวสา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2561). การพัฒนาระบบนิเทศฝึกงานออนไลน์นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Published
2024-05-16
How to Cite
ภูมิพันธุ์, ณัฐวุฒิ. การพัฒนาโมเดลการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 151-165, may 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2269>. Date accessed: 01 sep. 2024.