ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
ETHICAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING TEACHERS WORK MOTIVATION IN SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE ROI ET
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 360 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และครู จำนวน 330 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.922 และ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด อยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด อยู่ในระดับมาก 4) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด คือ ด้านความไว้วางใจ (X1) ด้านความเคารพ (X3) และด้านความยุติธรรม (X4) โดยตัวแปรทั้ง 3 ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 55.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this article were to 1) study the ethical leadership of school administrators. 2) study teachers work motivation in school and 3) study the ethical leadership of school administrators affecting teachers work motivation in school under secondary educational service area office Roi et. The samples group consisted of 360 administrators and teachers under Secondary Educational Service Area Office Roi et, classified into 30 school administrators and 330 teachers. The samples size was determined using the Krejcie & Morgan tables. The research tools are 1-5 level rating scale questionnaire with a confidence value of 0.922 and 0.817. The statistics used to analysis the data were Percentage, Mean, and Standard Deviation. The statistics used to test the hypothesis were Stepwise Multiple Regression.
The results showed that 1) The ethical leadership of school administrators under secondary educational service area office Roi et was at a high level. 2) The teachers work motivation in school under secondary educational service area office Roi et was at a high level. 3) The ethical leadership of school administrators affecting teachers work motivation in school under secondary educational service area office Roi et consists of 3 aspects: Trust (X1), Respect (X3), and Fairness (X4). The three variables together predicted the variance of teachers work motivation in school under secondary educational service area office Roi et. It could predict 55.30% with a statistical significance at the level of .05
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ : แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จํากัด.
ประยุทธ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 11(2). 2363-2380.
ยุทธการ ศิรดากุล. (2550). สภาวะคุณภาพชีวิตในการทำงานและองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำงาน กรณีศึกษา ครูโรงเรียนวัดมหาบุศย์ (พิทักษ์ถาวรคุณ). สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ชีระฟิลม์และไซเท็กซ์.
สนธยา บุตรวาระ. (2556). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมยศ นาวีการ. (2540). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2565. จาก https://www.secondary27.go.th
สุดสวาท ประไพเพชร. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Elbert, R .J. & Griffin, R. W. (2015). Business Essentials. 10th ed. Person : Global Edition.
Glanz, J. (2006). What every Leader should know about operational leadership. New York : Yeshiva University.
Griffin, R. W. (2011). Management: principles. 10th ed. South-Western, Cengage Learning : International Edition.
Northouse, Peter G. (2013). Leadership Theory and Practice. 3rd ed. Western. University : SAGE Publications.
Robbin, S.P. & Coulter, M. (2016). Management. 13th ed. Pearson : Global Edition.