การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้โบราณสถาน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

DEVELOPING THE ABILITY TO LEARN ANCIENT SITES BY COMUNITY-BASED LEARNING ACTIVITIES OF GRADE FIFTH STUDENTS

  • บลวิภา อินทรสัตยพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พรชัย ผาดไธสง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้โบราณสถานโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 วงรอบปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 4 คน โรงเรียนบ้านสว่างดอนดู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้โบราณสถาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนทั้งหมด จำนวน 4 คน มีคะแนนการวัดความสามารถในการเรียนรู้โบราณสถาน เฉลี่ยร้อยละ 86.39 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็มตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100


This research aims to develop the ability to learn about ancient sites by using community-based learning activities. Of students in Grade 5 with a passing score of 70 or more of the full score. The research format is action research, divided into 3 target group action cycles. Including Grade 5 students in 1 classroom, totaling 4 people, Barn Sawarng DornDu School. Yasothorn Primary Educational Service Area Office, Area 1, Semester 1, Academic Year 2023. The tools used to collect data include: 1) 12 learning management plans, 1 hour per plan, totaling 12 hours. 2) Ancient sites learning ability test. Statistics used in data analysis include percentage, mean, and standard deviation.


The results of the research found that a total of 4 students had an average score of 86.39 percent on the ability to learn ancient sites, which passed the criteria of 70 percent or more of the full score as specified. Calculated as 100 percent.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญสืบ โสโสม. (2553). วิถีคนกล้า ใน เรียนรู้วิถีชุมชนกับการศึกษา. นนทบุรี. โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์. (2557). กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). บทสรุป และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) ของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Galbraith, M. W. (1995). Community-Based Organizations at the Delivery of Lifelong Learning Opportunity. Retrieved 25 April 2022. From http://www.ed.gov/ pubs/plliconf95/comm.html

Kemmis & McTaggart. R. (1988). The Action research planner. 3rd ed. Geelong : Deakin University, Australia.
Published
2024-05-16
How to Cite
อินทรสัตยพงษ์, บลวิภา; ผาดไธสง, พรชัย. การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้โบราณสถาน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 108-122, may 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2267>. Date accessed: 22 dec. 2024.