การศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร รายวิชา ส 31101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่องคำ

THE STUDY OF CREATIVE THINKING SKILL USING 5 STEPS LEARNING PROCESS WITH DRAMATICS IN S 31101 SOCIAL STUDIES OF TENTH GRADE STUDENTS RONGKHAM SCHOOL

  • กิตตินันท์ วงษ์แสดง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อังคณา ตุงคะสมิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่องคำที่ได้เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร รายวิชา ส 31101 สังคมศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่องคำที่ได้เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร รายวิชา ส 31101 สังคมศึกษา 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่องคำ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร รายวิชา ส 31101 สังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/1 โรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สังคมมนุษย์ จำนวน 5 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแบบอัตนัยมีลักษณะเป็นสถานการณ์ มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามวัดเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ


  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น(5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร มีคะแนนทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเจคติต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละครในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.17


The purposes of this research were 1) to study the creative thinking skill of tenth grade students in Rongkham School who have learned by using a 5 STEPs learning process with dramatics in social studies subject S31101 2) to study learning achievements of tenth grade students in Rongkham School who have learned by using a 5 STEPs learning process with dramatics in social studies subject S31101 3) to study the attitudes of tenth grade students in Rongkham School in the management of learning using a 5 STEPs learning process with dramatics in social studies subject S31101. The sample group consisted of the 40 students in grade 10 at Rongkham School, Rong Kham District, Kalasin Province, under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin, who were studying in the first semester of academic year 2021. This research was a Quasi Experimental Research using One Group Pretest – Posttest Design. The instruments for the study included 1) 5 lesson plans using a 5 STEPs learning process with dramatics in unit 4 Human Society within 12 hours of learning activities, under the Social Studies, Religion and Culture Department.  2) a creative thinking skills test, which is a subjective test about situations, 20 points 3) The 4-choice multiple choice achievement test in 30 items 4) a questionnaire on attitudes of the students towards organizing learning management using a 5 STEPs learning process with dramatics in 20 questions that are rating scale 5-level.


The research finding were as follow:  1) The students who have learned by using a 5 STEPs learning process with dramatics have a creative thinking skills posttest mean score was higher than the pretest mean score with statistically significantly at the level of .01 2) The students who have learned by using a 5 STEPs learning process with dramatics have a learning achievement posttest mean score was higher than the pretest mean score with statistically significantly at the level of .01 3)  The students in tenth grade have an attitude towards learning management by 5 STEPs learning process with dramatics at a high level with a total mean score of 4.22 and a standard deviation of 0.17.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กาฬสินธุ์ : โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.

ประยุทธ์ ไทยธานี. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ปิ่นนรา บัวอิ่น. (2558). ความสามารถในด้านการคำนวณ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564. จากhttp://203.172.238.228/plan/km1/?name=research&file=readresearch&id=36

พงศธร จันเจียวใช้. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง รายวิชา ส 31102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรัตน์ ดำรุง. (2547). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรวุฒิ ยิ่งนอก. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องทรัพยากรธรณี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญพักตร์ ช่วยพันธ์, อารี สาริปา, สุพัฒน์ บุตรดี. (2560). ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(2). 163-173.

รัชยา วีรการต์. (2561). กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครองเมืองสงขลาสำหรับเยาวชน. สงขลา : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วิมลรัตน์ จตุรานนท์ และนลินี บำเรอราช. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านทักษะการพูดโดยการแสดงละครของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
Published
2023-09-05
How to Cite
วงษ์แสดง, กิตตินันท์; ตุงคะสมิต, อังคณา. การศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับการแสดงละคร รายวิชา ส 31101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนร่องคำ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 131-142, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2253>. Date accessed: 03 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย