การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

DEVELOPING GUIDELINES FOR ACADEMIC ADMINISTRATION OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS IN THE DIGITAL AGE UNDER KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREAS OFFICE 2

  • นัฎจรีภรณ์ ไขรัศมี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 624 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการวางแผนงานวิชาการ และด้านการวัดผลประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ด้านที่มีความจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (PNImodified = 0.166) 2. การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 35 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ 8 แนวทาง 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 10 แนวทาง 3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 6 แนวทาง 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5 แนวทาง 5) ด้านการนิเทศการศึกษา 6 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า แนวทางมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา) ความเป็นไปได้ของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา


The present study aimed 1) to investigate the current situations, desirable situations, and needs of academic administration of schools under Kalasin primary educational service area office 2 in the digital era, 2) to design, to develop and to evaluate the guidelines of academic administration of schools under Kalasin primary educational service area office 2 in the digital era. The sample was 624 consisted of schools’ administrators and teachers. The informants were 5 of schools’ administrators and teachers. The instrument used was 5 rating scales questionnaire, structured interview form, appropriateness and feasibility evaluation form evaluated. The data were analyzed using mean, standard deviation, priority needs index (PNImodified).


The results of the study revealed as follows; 1) The results of current situations revealed that overall rated in more level, when considered into each aspect pointed out that the highest mean were academic planning, educational evaluation and assessment, and credits transferring aspect. The results of desirable situations showed that overall rated in the most level, when considered into each aspect pointed out that the highest mean were academic planning and research for educational quality. The result of needs revealed that the most needed was research for educational quality (PNImodified = 0.166). 2) The results of developing guidelines of academic administration of schools under Kalasin primary educational service area office 2 in the digital era comprised of 5 elements 35 guidelines; 1) academic planning aspect consisted of 8 guidelines, 2) schools’ curriculum development aspect comprised of 10 guidelines, 3) educational evaluation and assessment, credits transferring aspect consisted of 6 guidelines, 4) research for educational quality aspect comprised of 5 guidelines and 5) educational supervision aspect consisted of 6 guidelines. The results of appropriateness and feasibility evaluation yielded that overall rated in the most level, when considered into each aspect found out that appropriateness of the guidelines rated in the most level, the highest mean was research for educational quality aspect, the feasibility of the guidelines rated in the most level, the highest mean was academic planning aspect, educational evaluation and assessment, credits transferring aspect and educational supervision aspect.

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถนศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง). (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

มณีรัตน์ สุดเต้. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ลลิตวดี ระดาบุตร. (2564). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตสัตตบงกช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ระยะ 5 ปี (ระยะแรก 3 ปี พ.ศ. 2563 – 2565). กาฬสินธุ์ : กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Grossman, P. (2009). Teaching Practice: A Cross-Professional Perspective. Teachers College Record. 111 (9). 2055–2100.
Published
2023-09-04
How to Cite
ไขรัศมี, นัฎจรีภรณ์; หกสุวรรณ, สุทธิพงศ์. การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 51-63, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2249>. Date accessed: 19 may 2024.
Section
บทความวิจัย