สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ

STATES AND APPROACHES TO DEVELOP THE BUDGET ADMINISTRATION OF SUB-DISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATIONS IN SUBYAI DISTRICT, CHAIYAPHUM

  • อภิรักษ์ ชาญศึก มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจำในเขตอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า  ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .090 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า สภาพการบริหารงบประมาณสุงสุด คือ ด้านการจัดทำงบประมาณ รองลงมาคือด้านการใช้จ่ายงบประมาณ ส่วนด้านที่มีสภาพการบริหารงบประมาณต่ำสุด คือ ด้านการควบคุมติดตามผล 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ ควรมีการใช้คน เงิน วัสดุ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดที่สุด จัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานด้านการจัดทำงบประมาณที่ผ่านมาเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนดตรงตามเป้าหมายที่วางไว้  มีการใช้จ่ายงบประมาณและการขออนุมัติเบิกจ่ายตามลำดับขั้นตอนสายการบังคับบัญชา มีแผนการเบิกจ่าย และกำหนดวิธีการเบิกจ่ายและระยะเวลาการเบิกจ่ายเพื่อให้เกิดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง มีสายการบังคับบัญชาการควบคุมติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานตามลำดับ กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการควบคุมติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณและมีการควบคุมติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


The research was 1) to study the states of the budget administration of sub-district administration organizations in Subyai district, Chaiyaphum, and 2) to study the approaches to develop the budget administration of sub-district administration organizations in Subyai district, The sample group was 103 personnel of sub-district administration organizations in Subyai district, Chaiyaphum. The rating scales questionnaires were used to collect the data. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation.


The research result revealed that: 1) The states of the budget administration of sub-district administration organizations in Subyai district, Chaiyaphum were at the high level overall. Considering on each budget maneuver showed the highest mean scores, followed by the budget expense, whereas, the follow up showed the lowest mean score. 2) The approaches to develop the budget administration of sub-district administration organizations in Subyai district, Chaiyaphum were as follows: should prepare man, money, rials which were deal with the budget maneuver to spend the resources in better economic. prepare the personnel who had the knowledge about the budget maneuver to get more the highest efficiency. analyze the operation result, In the budget maneuver which was complete in time and in the goal. spend and ask for authorization in ordering of command. plan their budget reimbursement. Also, they should set up the method and the duration in budget reimbursement to make the clear objectives.  report their budget expense to the stakeholder continuously. clear their structure as the command line to control and follow up the clear budget expense to be into the best practice. set up the clear objectives and goals in controlling and following up the budget expense. and control and follow up the budget expense following the regulation to get the highest efficiency.

References

จุฑามาศ จักรแกว้. (2549). ความคิดเห็นของบุคลากรอบต. ต่อการบริหารงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

ชลนิภา รัตตะเวทิน. (2547). ปัญหาการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เขตอำเภอยางตลาด : กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูเกียรติ ถาบุตร. (2550). การประเมินศักยภาพแลความพร้อมในการบริหารงบประขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอกันทรลักษณ์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระมหาสมคิด คำผง. (2546). ปัญหาในการบริงานงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โสภณ ชาเรื่องฤทธิ์. (2550). ปัญหาในการดำเนินการสนับสนุนการบริหารงานของปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัจฉรา งีสันเทียะ. (2547). ปัญหาการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.
Published
2024-05-16
How to Cite
ชาญศึก, อภิรักษ์. สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 46-54, may 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2246>. Date accessed: 01 sep. 2024.