แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 อำเภอลำทะเมนชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

THE GUIDELINES DEVELOPING ADMINISTRATION FOR ORGANIZING SCOUT AND GIRLFRIEND ACTIVITIES IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE CENTER SCHOOL NETWORK NO. 6, LAMTHAMENCHAI DISTRICT PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE NAKHONRATCHASIMA DISTRICT 7

  • สุริยง เทียกมา วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 อำเภอลำทะเมนชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 163 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 22 คน ครูผู้สอน จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คนครูผู้สอน จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาสังกัดศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่6 อำเภอลำทะเมนชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาสังกัดศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 อำเภอลำทะเมนชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาสถานศึกษาสังกัดศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 มากที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ มีค่า PNIModified เฉลี่ยเท่ากับ 0.31 รองลงมา ได้แก่ ด้านลูกเสือ มีค่า PNIModified เฉลี่ยเท่ากับ 0.30 ด้านผู้กำกับลูกเสือ  มีค่า PNI Modified เฉลี่ยเท่ากับ 0.30  และด้านผู้บริหาร มีค่า PNIModified เฉลี่ยเท่ากับ 0.29 เป็นลำดับสุดท้าย 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษาสังกัดศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 ประกอบด้วย 4 ด้าน 26 แนวทาง ได้แก่ ด้านการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ 6 แนวทาง  ด้านลูกเสือ 5 แนวทาง ด้านผู้กำกับลูกเสือ 6 แนวทาง ด้านผู้บริหาร 9 แนวทาง และผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด


           The objectives of this study were 1) to study the current situation. The desirable condition and the necessary need for the management of Scout-Girl Scout activities in the educational institutions of the School Network Center 6, 2) to study the guidelines for developing the management of Scout-Girl Scout activities in the 6th School Network Center, LamThamen Chai District. Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 7 Education is divided into 2 phases as follows:  Phase 1: Study of current conditions The desirable condition and the necessary need for the development of the management of Scout-Girl Scout activities in the 6th. The sample group was 163 people, including 22 school administrators and 141 teachers. The instrument used in the study was a questionnaire. Statistics for data analysis include frequency, percentage, mean, and standard deviation. and the required index value. Phase 2: Study on the development of the management of Scout-Girl Scout activities in the 6th. By interviewing 5 experts, including 2 school administrators. One study supervisor and two teachers. The instrument used in the study was an interview. and a suitable and feasibility assessment form for the development of the management of Scout-Girl Scout activities in educational institutions. The statistics used were percentage, mean, standard deviation. and demand index


           The study found that: 1. The current state of the management of Scout-Girl Scout activities in educational institutes under the Network Center of School No. 6, Lamthamenchai District. Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office, Area 7 overall was at a high level. The desirable condition for the management of Boy Scout Girl Scout in educational institutions under the center School Network 6, overall was at the highest level. Necessary needs for the development of the management of Scout-Girl Scout activities in educational institutions under the 6th ordered the needs from the most to the least, for example, the organization of the Scout activities had an average PNI Modified value of 0.31, followed by the Boy Scouts had an average PNI Modified value of 0.30. Scouts had an average PNI Modified value of 0.30, and the management side had an average PNI Modified value of 0.29, the last one. 2. Guidelines for the Development of Management of Boy Scout-Girl Scout Activities in Educational Institutions under the 6th School Network Center, Lam Thamen Chai District Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 7 consists of 4 aspects and 26 approaches, namely, 6 approaches of Scout mass organization, 5 approaches of Boy Scouts, 6 approaches of Scout Superintendent, 9 approaches of administrators, and the result of the suitability and effectiveness assessment. The Possibilities of the Developmental Guidelines, overall, was at the highest level of suitability and at the highest level of possibility.

References

กรมวิชาการ. (2546). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา: กรอบและแนวการดำเนินงาน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขัตติวรรธน์ ทวีวัฒน์. (2564). การจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพงานลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คงศักดิ์ เจริญรักษ์ และคณะ. (2548). การลูกเสือไทยพัฒนาการในยุค 2546-2548. กรุงเทพฯ:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
รวิ เต็มวนาวรรณ. (2563). การริหารงานลูกเสือกลุ่มโรงเรียนทับใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายฟ้า หาสีสุข. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2564). รายงานการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ประจำปี 2564. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7.

สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ. (2539). คู่มือประกอบการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อรรถพล ส่งอัมพร. (2564). การบริหารงานกิจการลูกเสือของศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบางสะพานน้อย 3 (ไชยราช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Published
2023-10-10
How to Cite
เทียกมา, สุริยง; ศิริปุณยนันท์, ธนาศักดิ์. แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายโรงเรียนที่ 6 อำเภอลำทะเมนชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 83-95, oct. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2236>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย