แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3

THE GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF CREATIVE LEADERSHIP OF EDUCATIONAL QUALITY DEVELOPMENT CENTER 8, KHONKAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • กุสุมาวดี พลนงค์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • อำนาจ ชนะวงศ์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีความต้องการจำเป็นพื้นฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับ สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การมีความยืดหยุ่น การมีความคิดสร้างสรรค์ การมีจินตนาการ และการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคล 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 มี 5 องค์ประกอบ เมื่อนำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วได้แนวทางทั้งหมด 22 แนวทาง ได้แก่ การมีความยืดหยุ่น มี 4 แนวทาง การมีจินตนาการ มี 4 แนวทาง การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มี 5 แนวทาง ความคิดสร้างสรรค์ มี  4 แนวทาง การมีวิสัยทัศน์ มี 5 แนวทาง และมีผลการประเมินความเหมาะสมและมีผลการประเมินความเป็นไปได้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


           This research article has the objectives 1) to study the current situation. The desirable condition and the necessary need of creative leadership of school administrators in the 8th Educational Quality Development Center under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 3. 2) For study the guidelines for developing creative leadership of school administrators in Educational Quality Development Center 8 under the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office. 3. The sample groups used in the research are: Educational institution administrators and teachers in Educational Quality Development Center  8 Type of people: 86 people. The research tools included a questionnaire, an interview form, and a form to assess the appropriateness and feasibility of the draft guidelines for developing creative leadership. Statistics used in data analysis include frequency, percentage, mean, standard deviation and Basic Needs Index (PNI Modified).


           The results found that: 1. The current condition of creative leadership as a whole is at the level of the desired condition of creative leadership as a whole. at the highest-level Order of essential needs of creative leadership When considering each aspect, order the essential needs from highest to lowest in 5 orders: having a vision being flexible Being creative imagination and consideration of individuality. 2. The Guidelines for developing creative leadership among school administrators In the Educational Quality Development Center 8 under the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office, Area 3, there are 5 components. A total of 22 approaches were obtained: 4 approaches of flexibility, 4 approaches of imagination, 5 approaches of individuality consideration, 4 approaches of creativity, 5 approaches of vision. The overall feasibility assessment results were at the highest level.

References

กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พุทธชาติ ภูจอมจิต. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภรณ์ทิพย์ ปั้นกอง. (2559). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

รอซียะห์ ลาเต๊ะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลทางการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สมยศ ชี้แจง. (2552). ภาวะผู้นําทางการศึกษา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 3(1). 48-49.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Published
2024-03-12
How to Cite
พลนงค์, กุสุมาวดี; ชนะวงศ์, อำนาจ. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 96-106, mar. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2235>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย