การสร้างแบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

THE CONSTRUCTION AN ENGLISH READING COMPREHENSION SCALE OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS IN SCHOOLS UNDER THE UDONTHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • นิศานาถ กองนาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • มณีญา สุราช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2) เพื่อหาเกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพ ได้แก่ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแยก และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบ


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างแแบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เป็นแบบวัดความสามารถ ประเภทปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัด ดังนี้ (1) ระบุประโยคหรือข้อความสั้น ๆ ตรงตามภาพ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายที่อ่าน     (2) บอกใจความสำคัญและตอบคําถามจากการอ่านบทสนทนา (3) บอกใจความสำคัญและตอบคําถามจากการอ่านนิทานง่ายๆ และเรื่องเล่า มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง .45-.75 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง .41 ถึง .70 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 2) เกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยมีคะแนนดิบตั้งแต่ 33-40 คะแนน เกณฑ์ปกติทั้งฉบับอยู่ในช่วง T25 – T65 3) คู่มือการใช้แบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบวัด นิยามศัพท์เฉพาะ ลักษณะของแบบวัด โครงสร้างเนื้อหาของแบบวัด คุณภาพของแบบวัด เวลาที่ใช้ในการดำเนินการวัด วิธีการดำเนินการวัด เกณฑ์การตรวจให้คะแนน และการแปลความหมายคะแนนของแบบวัด


           The purposes of this research were 1) to create and determine the quality of the English reading comprehension. 2) to find Norms of the English reading comprehension test. 3) to create a manual for using the English reading comprehension test. of grade 6 students, schools under Udonthani Primary Educational Service Area Office 1. The sample group were 346 students who studying in grade 6 under Udonthani Primary Educational Service Area Office 1, academic year 2022 were obtained by multistage random sampling. It was divided into 2 groups. The research instrument was the English Reading Comprehension Test. The statistics used to determine the quality were the content validity with The Index of Item-Objective Congruence, difficulty, discriminant and test reliability.


           The results of the study were as follows: 1) Creation of the English Reading Comprehension Test, which is a multiple-choice proficiency test, 4 options, 40 items, with the following indicators: (1) Specify a sentence or short passage that meets Pictures, symbols or signs. (2) Tell the main idea and answer questions from reading dialogues. (3) Tell the main idea and answer questions from reading simple tales and stories. The quality of the English reading comprehension test: The Index of Item-Objective Congruence (IOC) ranged from 0.80 to 1.00, the difficulty (P) ranged from .45 to .75, the discriminant (B) ranged from .41 to .70, and the Reliability was .84. 2) Norm for the English reading comprehension test with raw scores ranging from 33-40 points. The normal criteria for the entire issue are in the range of T25 – T65. 3) The English reading comprehension Achievement test manual includes: Purpose of creating measurement, definition of terms, measurement features, measurement content structure, measurement quality, measurement time, how to conduct measurement, scoring standards, and interpretation of measurement scores through appropriate consideration by experts.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขจรศักดิ์ สุนลี. (2549). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีสอนแบบ CIRC ประกอบกับการใช้สื่อในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี : ไทยเนรมิตอินเตอร์ โปรเกรสซีพ.

โชติกา ภาษีผล. (2554). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเชิด ภิญโญอนันต พงษ์. (2521). การวัดและการประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2537). การประมาณค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบที่แบ่งส่วนย่อยตามแบบจำลองคะแนนจริงสัมพันธ์. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดประเมินการเรียนรู้ (การวัดประเมินแนวใหม่). กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ และคณะ. (2554). หกขั้นตอนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิดการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึกสำหรับระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม.

พลสุข ญาณไพศาล. (2540). การอ่านเพื่อชีวิต. ภูเก็ต : สถาบันราชภัฎภูเก็ต.

ไพรประนอม ประดับเพชร. (2554). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มณีญา สุราช. (2560). การวัดและประเมินผลการศึกษา. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมศัพท์ภาษาอังกฤษฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลินจง จันทรวราทิตย์. (2542). การอ่านเพื่อชีวิต. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2542). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย ชีตารักษ์. (2546). เด็กกับหนังสือ ในเอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมวัยเด็ก เล่มที่ 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อารีย์ วาศน์อำนวย. (2545). การพัฒนาแบบฝึกเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาความเข้าใจตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุมาภรณ์ ทองเสมอ. (2548). การสร้างสรรค์วรรณกรรมและหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
Published
2023-09-18
How to Cite
กองนาง, นิศานาถ; สุราช, มณีญา. การสร้างแบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 59-71, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2218>. Date accessed: 01 may 2024.
Section
บทความวิจัย