การสร้างแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

CREATING SUMMARY WRITING SKILLS ASSESSMENT FORM FOR STUDENTS IN MATHAYOMSUKSA 3 UNDER UDON THANI SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE

  • เมวดี ทรัพย์พงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • มณีญา สุราช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ 2) เพื่อหาคุณภาพแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ 3) เพื่อหาเกณฑ์ปกติของแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ 4) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 160 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 80 คน ทำการทดลอง 2 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเขียน ย่อความแบบอัตนัย มี 7 ประเภท ได้แก่ ย่อความจากนิทาน ประวัติศาสตร์ ตำนาน  สารคดี พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท และข่าว กำหนดรายการประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) รูปแบบ การเขียน 2) การลำดับความต่อเนื่องของเนื้อหา 3) การใช้ภาษา และ 4) เนื้อเรื่องย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินและค่าความเชื่อมั่นของผู้ตรวจให้คะแนน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย การเขียนย่อความจากนิทาน การเขียนย่อความจากประวัติศาสตร์ การเขียนย่อความจากตำนาน การเขียนย่อความจากสารคดี การเขียนย่อความจากพระราชดำรัส  การเขียนย่อความจากพระบรมราโชวาท และการเขียนย่อความจากข่าว ในแต่ละประเภทประเมิน  4 รายการ ได้แก่ รูปแบบการเขียน การลำดับเนื้อหา การใช้ภาษา เนื้อเรื่องย่อ รวม 7 ข้อจำนวน 1 ฉบับ 2) คุณภาพของแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ทุกประเภท อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ มีค่า t อยู่ระหว่าง 7.33 ถึง 11.17 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 0.85 และค่าความเชื่อมั่นของผู้ตรวจให้คะแนนอยู่ระหว่าง 0.72 ถึง 0.90 3) เกณฑ์ปกติของแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ โดยมีคะแนนดิบตั้งแต่ 55-131 คะแนน เกณฑ์ปกติทั้งฉบับอยู่ในช่วง T25–T75 4) คู่มือการใช้แบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ นิยามศัพท์เฉพาะ ลักษณะของแบบประเมิน คุณภาพแบบประเมิน เวลาที่ใช้ในการดำเนินการ วิธีดำเนินการประเมิน เกณฑ์การตรวจให้คะแนนของแบบประเมิน การแปลความหมายคะแนนมีผลการประเมินทุกข้อผ่านการพิจารณาความเหมาะสม


The purpose of this study is to: 1) Create a summary skill assessment. 2) Determine the quality of the summary skill assessment. 3) Determine the normal standards for summarizing skill assessment. 4) Create a summarizing skill assessment manual. Samples used in the study. The sample used in the research were 160 students that studying Mathayomsuksa 3 in the second semester of the academic year 2022 under the Office of Udonthani Secondary Educational Service Area by multi-stage random sampling, divided into 2 groups of 80 people each, conducted 2 experiments. Research is an assessment form for writing essay skills which looks like writing. There are 7 types of subjective summaries, including summaries from fairy tales, history, legends, documentaries, royal speeches and news. Assessment items consist of 4 aspects: 1) writing style 2) content continuity 3) language use and 4) synopsis. Data was analyzed by content validity with The Index of Item-Objective Congruence (IOC), discriminant (r). and test reliability determination form and the confidence value of the examiner validity.


The research findings were as follows: 1) The created essay writing skill assessment was divided into 7 categories: Writing a summary from a fairy tale,  Writing a summary from history, Writing a summary from a legend, Writing a summary from a documentary, Writing a summary from a royal speech, Writing a summary from a royal speech and Writing a summary from news in each category, 4 items are assessed: writing style, Content sequence, language usage, synopsis, total of 1 copy of 7 short stories. 2) The content validity (IOC) for all types is between 0.67 and 1.00. The Index of Item-Objective Congruence of t-range (t) is from 7.33 to 11.17. The discriminant of the evaluation is between 0.80 and 0.85, and the test reliability determination of the reviewer is between 0.72 and 0.90. 3) Standard essay skill assessment, with an original score of 55-131. The standard range is T25-T75. 4) Summarize the nature of the skill assessment manual, including objectives, terminology definitions, and quality assessment forms. Processing time, evaluation method, scoring standards, scoring translation.

References

กนกพร ถูวัดสี. (2556). การสร้างแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2544). เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม Holistic Rubrics. สืบค้นเมื่อ25 สิงหาคม 2565. จาก http://www.watpon.com/Elearning/mea5.html/

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2556). เทคนิคการเขียนคำและผลิตตำรา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. กาพสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

รัฐนันท์ สกุลสารทอง. (2564). การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุชาดา ยอดสุรางค์. (2552). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุดาวดี ไพพิบูลย์. (2559). หลักหลักภาษาไทยตามหลักสูตรสภาฝึกหัดครู พุทธศักราช 2524. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เสริม ทัศศรี. (2541). การสร้างเกณฑ์ปกติโดยใช้วิธีกำลังสองต่ำสุด. วารสารคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 4(1). 31-40.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Published
2023-09-09
How to Cite
ทรัพย์พงษ์, เมวดี; สุราช, มณีญา. การสร้างแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 64-74, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2217>. Date accessed: 19 may 2024.
Section
บทความวิจัย