การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
RESULTS BASED MANAGEMENT WITH ACTIVE LEARNING MANAGEMENT
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จากการศึกษาพบว่าการขับเคลื่อนการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยการจัดการเรียนการเรียนรู้เชิงรุก สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาทักษะในการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจเกิดทักษะการคิด ทักษะการเรียนรู้ การแก้ปัญหา สามารถสืบเสาะหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ ได้ด้วยตนเองด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ทั้งนี้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกจะเกิดประสิทธิผลสูงสุด ต้องได้รับความร่วมมือกันระหว่าง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบถ้วน เป็นระบบนําองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นเครื่องมือที่นําไปใช้เป็นกระบวนการดําเนินงาน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สามารถนําองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นําไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง นําไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ สามารถเผยแพร่ผลงานทั้งในและนอกสถานศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้
References
คณะศึกษาศาสตร์. (2560). โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้แบบ Phenomenon-based Teaching and learning”. กรุงเทพฯ : ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2551). พฤติกรรมครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Canadian International Development Agency. (2001). Results Based Management in CIDA: An Introductory Guide to Concept and Principles. Canada : Government of Canada Publications.