การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหา รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค11101) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

THE MODEL DEVELOPMENT OF A LEARNING MANAGEMENT BASED ON THE CONCEPT OF BUILDING KNOWLEDGE BASED ON CONSTRUCTIVIST THEORY IN CONJUNCTION WITH SOCIAL MEDIA TO STRENGTHEN PROBLEM-SOLVING ABILITIES BASIC MATHEMATICS COURSE FOR STUDENTS IN GRADE 1

  • จารุณี วิชาชัย โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค11101) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1EP จำนวน 35 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย 4) ประเมินประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1EP จำนวน 35 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน


           ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบด้วยการตีความ ทำความเข้าใจปัญหา สถานการณ์หรือเรื่องราว เพื่อระบุให้ได้ถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผล 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีชื่อเรีกว่า SPACE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ประสิทธิภาพด้านความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กาญจนา นิลนวล. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการพุทธิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4). 99-103.

ภาณิชา ศรีรัตน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก. (2565). รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก ปีการศึกษา 2565. ขอนแก่น : โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

สายใจ ปินะกาพัง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรทัย ชินาภาษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. อุบลราชธานี : โรงเรียนเมืองเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5.

Rosenshine, B. and Meister, C. (1992). The use of scaffolds for teaching higher-level cognitive strategies. Educational Leadership. 49(7). 26-33.

Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Retrieved 20 July 2022. From http://www.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf
Published
2023-08-04
How to Cite
วิชาชัย, จารุณี. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหา รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค11101) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 166-178, aug. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2213>. Date accessed: 19 may 2024.