การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียน : กรณีโรงเรียนดอนจานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

A STUDY OF SCHOOL DEVELOPMENT STRATEGIES: THE CASE OF DONCHAN WITTAYAKHOM SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KALASIN

  • ดารุณี จันทะลือชา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปาริชา มารี เคน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธีระ ภูดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมองค์กรของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาองค์กรของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของโรงเรียนดอนจานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือผู้มีส่วนได้เสียของโรงเรียนจำนวน 20 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ยืนยันผลการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนได้เสียของโรงเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สรุปกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนโดยการสนทนากลุ่ม ยืนยันกลยุทธ์โดยแบบประชาพิจารณ์


ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านสภาพแวดล้อมองค์กรมีจุดแข็งดังนี้ 1) บุคลากรมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาเอก 2) บุคลากรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 3) บุคลากรมีความมุ่งมั่น วิริยะ อุตสาหะ ในการปฏิบัติหน้าที่ 2. กลยุทธ์ที่มีระดับความสำเร็จสูงสุดได้แก่ กลยุทธ์พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร กลยุทธ์พัฒนาครูให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และกลยุทธ์พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาวะที่ดี และมีสุนทรียภาพ ซึ่งมีระดับความสำเร็จเป็น 4.75, 4.70 และ 4.65 ตามลำดับ 3. ได้กลยุทธ์ 12 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาวะที่ดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 2) พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติ สมเหตุสมผล 3) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 4) พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมและศักยภาพของผู้เรียน 5) พัฒนาครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองชุมชน ให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 6) พัฒนาสถานศึกษาให้มีการจัดการหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน มีการจัดการสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ 7) จัดให้มีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 8) พัฒนาระบบในสถานศึกษาให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว ตรวจสอบได้ ทันต่อเหตุการณ์ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เรียน 9) มีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามบริบทของสถานศึกษา และมีการเผยแพร่ 10) พัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดให้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 11) จัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น 12) พัฒนาบรรยากาศห้องเรียน วัสดุ อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนเพียงพอ


The objectives of this research were: 1) To study the school organizational environment. 2) To study the school organizational development strategy. 3) To study the proposal for implementing the strategy into practice of Donchan Wittayakhom School. Under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin. The target group that provided information in this research were 20 school stakeholders and the confirmed target group in this research were 30 school stakeholders. The research instrument was a questionnaire. Interview, Summarizing the school development strategy by focus group. Confirm strategy by public hearing.


The results of the research revealed that: 1. The strengths of the organizational environment are as follows: 1) personnel with knowledge and competence in major fields. 2) Personnel capable of using technology. 3) Personnel with determination, perseverance and perseverance in performing their duties. 2. The strategy with highest level of success is strategies to develop learners, have necessary knowledge and skills according to the curriculum. Strategies to develop teachers to be able to perform their roles with efficiency and effectiveness. And strategies to develop students for good health and aesthetics which has success levels of 4.75, 4.70 and 4.65 respectively. 3. There are 12 strategies for school development as follows: 1) Develop learners to have good health, aesthetics, morality, ethics and desirable values. 2) Develop learners to have the ability to think systematically and creative thinking. 3) Develop learners to have necessary knowledge and skills according to the curriculum; have the skills to work and able to work with others. 4) Develop learners to have the skills and seek knowledge by themselves. 5) Develop teachers, administrators, school committees and community parents. 6) Develop educational institutes to have curriculum management, learning process. Developing the quality of learners in all aspects. 7) Managed environments and services that encourage learners to reach their full potential. 8) Arrange for internal quality assurance for educational institutions as stipulated in the ministerial regulations. 9) Educational institutions are created, promoted and supported to become learning societies according to the context of educational institutions, and published. 10) Develop educational institutions to achieve the goals according to the vision, philosophy, and emphasizing through a variety of methods and continuous practice. 12) Develop classroom atmosphere, materials, and equipment to support teaching and learning sufficiently.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

กลุ่มนโยบายและแผน. (2564). สภาพการนำแผนกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้น ที่ 1-2 สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. ศรีสะเกษ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2.

จิราภรณ์ จันทา. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชัยอนันต์ มั่นคง. (2557). การวิเคราะห์การกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประพันธ์ บรรยงค์. (2562). การวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยอีสาน.

ปราณี เอื้อศิลามงคล. (2557). ศึกษาปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ ศิลารัตน์. (2554). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญโญ สายนุ้ย. (2558). การกำหนดนโยบายการศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

โรงเรียนดอนจานวิทยาคม. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนดอนจานวิทยาคม.

ศรชัย ยังเหลือ. (2558). การศึกษาสภาพความรู้และการใช้ทักษะในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศิริวิช ดโนทัย. (2555). กระบวนการวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมชัย วงษ์นายะ. (2563). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กำแพงเพชร.

สมชาย สุขผึ้ง. (2560). การศึกษาปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการปฏิบัติการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนจาน. (2562). การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานปี 2562 อำเภอดอนจาน. กาฬสินธุ์ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนจาน.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ. (2545). ชุดวิชาการประเมินเพื่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการศึกษา.

สุทัศน์ ลาหมองแคน. (2560). การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สุระศักดิ์ แก้วสียา. (2557). การวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสรี ขามประไพ. (2561). การมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษาของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Ka-ho-Mok. (2017). Decentralization and Marketization of Education in Singapore: A Case Student of School Excellence Model. Journal of Educational Administration. 41(4). 348-366.

Price, M.J. (2021). Strategic Planning and The Link to Implementation in Selected Illinois School Districts. Dissertation Abstracts International. 77(9).1259-1274.

Reem H. Al-Attar. (2019). The Effectiveness of Using Scenario-Based Learning Strategy in Developing EFL Eleventh Graders' Speaking and Prospective Thinking Skills. Master Degree in Education. The Islamic University of Gaza.
Published
2023-09-09
How to Cite
จันทะลือชา, ดารุณี; มารี เคน, ปาริชา; ภูดี, ธีระ. การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียน : กรณีโรงเรียนดอนจานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 104-118, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2212>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
บทความวิจัย