การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
THE ACADEMIC ADMINISTRATION ACCORDING TO THE FOUR NOBLE TRUTHS OF EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATORS IN SMALL SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 196 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ 5 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ผู้บริหารสถานศึกษาให้ข้อคิดเห็น (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาควรมีการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา มีการวางแผน มีการร่วมมือกับทุกฝ่าย (2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ส่งเสริมการจักการเรียนรู้ของผู้เรียนตามความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีการนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (3) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนควรมีการวัดพัฒนาการต่าง ๆ ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูได้เข้าใจ และสามารถนำวิธีการวัดผลประเมินผลมาใช้จริง (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา สถานศึกษามีการจัดหาสื่อและเทคโนโลยีให้เพียงพอ และผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนให้ครูจัดทำสื่อเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการระดมทรัพยากรทางการศึกษาจาหผู้มีจิตศรัทธา (5) ด้านนิเทศการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาติดตามสนับสนุน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของครูในด้านงานวิชาการ เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พระครูปลัดบุญยัง ทุลฺลโภ (สุนทรวิภาต). (2554). การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 โรงเรียน ประถมศึกษา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบุญเฮ้า หิริโก (ปัญญาสุข). (2556). การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอาคม อตฺถเมธี (คำมานะ). (2565). การบริหารวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อานนท์ หล้าหนัก. (2551). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.