การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

THE ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE DIGITAL ERA ACCORDING TO THE FOUR BHAVANA DHAMMAS OF EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF UDON THANI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 4

  • รัตติยา จันทร์สว่าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
  • พระครูปริยัติคุณรังสี ผศ.ดร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
  • ประสงค์ หัสรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 291 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 2. การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ศีลภาวนา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนงานวิชาการ ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของผู้เรียน พัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากร เตรียมลักษณะทางกายภาวนาในการเรียนรู้ผู้เรียน ส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับหลักศีลภาวนา สอดแทรกคุณแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในกิจกรรมภายในโรงเรียน ให้ครูผู้สอนประพฤติปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการสอน ให้ความสำคัญของหลักจิตตภาวนา  ปลูกฝังนักเรียนให้มีจิตใจที่ดี รู้จักเคารพผู้ใหญ่ และมีภาวะความเป็นผู้นำ สอดแทรกหลักจิตตภาวนากับสาระพระพุทธศาสนา ส่งเสริมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปัญญาภาวนา พัฒนาตนเองให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้ทันสมัย และแก้ไขปัญหาและพัฒนางานวิชาการให้มีประสิทธิภาพ

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธานี จน̣ทิโก (กลมนอก). (2560). การพัฒนาตนเองตามหลักภาวนา 4 ของเยาวชนตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง). (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Modern Learning Development Center. 6(1). 263-267.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). พลิกโฉมการเรียนรู้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล กระทรวงศึกษาธิการ 128 ปี. กรุงเทพฯ : บริษัทเซ็นจูรี่.
Published
2023-07-03
How to Cite
จันทร์สว่าง, รัตติยา; ผศ.ดร., พระครูปริยัติคุณรังสี; หัสรินทร์, ประสงค์. การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 105-116, july 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2203>. Date accessed: 03 jan. 2025.